วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทีกประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกประจำวันที่  24  กุมภาพันธ์  2559
               เข้าอบรมโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กิจกรรมฝึกอบรมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล(ศส.ปชต)  จำนวน  60  คน  ณ  ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว  มีนายเสกสรร  โลหะกิจ  ปลัดอำเภอเมืองลำปาง มาเป็นประธานเปิดแทนนายอำเภอเมืองลำปางที่ไปราชการ และนางสาวยุรัยยา  อินทรวิจิตร  รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองลำปาง เป็นผู้กล่าวรายงาน
                   ทีมวิทยากรจากสำนักงาน กกต.จังหวัดลำปาง ได้ให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยใช้เทคนิคต้นไม้ประชาธิปไตย ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับเรื่องประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าต้นไม้ประกอบด้วย 5 ส่วน ส่วนแรก คือผล/ดอก การปลูกต้นไม้ก็หวังผลที่ดีงาม รสชาติหวาน ประชาธิปไตยก็เช่นกัน ต้องการปกครองประชาธิปไตยอย่างไร เช่น การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การอยู่กันอย่างสงบสุข เป็นต้น นั่นคือจุดมุ่งหมายสูงสุดในเรื่องประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่อยากเห็น ส่วนที่สองก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามนั่นก็คือดิน หรือปุ๋ย นั่นเอง หากดินสมบูรณ์ต้นไม้ก็เจริญงอกงามออกดอกออกผลอย่างมากมาย ดังนั้นในเรื่องประชาธิปไตยก็เปรียบเหมือนค่านิยมที่คนในระบอบประชาธิปไตยต้องมี เช่น เรื่องคุณธรรม จริยธรรม  ธรรมาธิบาล หากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแต่ละคนมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมที่ดี ก็จะควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปในวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ดีด้วย 
              ส่วนที่สาม ราก รากเป็นที่ดูดซึมอาหาร เป็นที่ยึดเหนี่ยวลำต้นให้ตั้งตรง เปรียบเทียบกับระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักที่สำคัญของประชาธิปไตยที่สำคัญอย่างไรบ้าง หากมีหลักยึดที่มั่นคง  ส่วนที่สี่ ลำต้น ต้นไม้ยืนอยู่ได้ด้วยลำต้นที่แข็งแรง เปรียบกับระบอบประชาธิปไตย มีหน่วยงานองค์กร สถาบันที่จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอด ส่งเสริมความรู้ หรือพัฒนาประชาธิปไตย บางหน่วยงานส่งเสริมประชาธิปไตยทางอ้อม บางหน่วยงานส่งเสริมประชาธิปไตยโดยตรงตามบทบาทหน้าที่ ลำต้นจึงเปรียบเหมือนกับสถาบันในระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง ที่สำคัญที่สุด องค์ประกอบส่วนสุดท้ายของต้นไม้ คือ กิ่งก้าน ที่จะทำให้ออกดอกออกผล คือ กระบวนการ หรือกลไก วิธีการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้ จะต้องมีระบบมีกลไกในการทำงานที่ ส่งเสริมตรวจสอบได้ใ หากในระบบนี้ทำงานได้อย่างโปร่งใส ก็สามารถส่งเสริมประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที เพราะฉะนั้นในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยกับเรื่องต้นไม้ประชาธิปไตยมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันสามารถนำไปถ่ายทอดได้
            เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการต้นไม้ประชาธิปไตยแล้ว วิทยากรได้ให้คณะกรรม ศส.ปชต. เข้ากลุ่มประจำตำบลของตนเอง แล้วช่วยกันทำแผนการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในพื้นที่ตำบลของตนเอง ระยะเวลา ในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2559 จากนั้นส่งตัวแทนนำเสนอแผนฯ
            ผอ.กกต.จังหวัดลำปาง นายสุพจน์  มอบป้าย ศส.ปชต. และแผนการปฎิบัติงานที่แต่ละตำบลได้วางแผนไว้    พิธีปิด ครูนาคยา  ทุนกูล  มอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม และกล่าวปิดการอบรมในวันนี้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น