วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558



บันทึกประจำวันที่  30  พฤศจิกายน  2558
                 วันนี้ได้เข้ามาที่กศน.อำเภอเมืองลำปางเพื่อฟังการบรรยายผ่าน ETV ของนายสุรพงษ์  จำจด  เลขาธิการ กศน. ในหัวข้อ เรื่องยุทธธศาสตร์ทและจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2559 โดยการนำของ  ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  อาจารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร  หัวหน้ากลุ่มจัดฯ ครูสุพรรณี  วงค์แสน  หัวหน้าภาคีเครือข่าย ครูนาตยา ทุนกุล  หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ  มีกรอบในการทำงาน ดังนี้
1.การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
2.การดำเนินงานตามนโบายและจุดเน้น
3.แผนปฏิบัติการคำรับรอง
- การต่อสัญญา พนักงานราชการ ปี2559 สัญญาพนักงานจะครบ  5 ปี ต้องเอาผลงานที่ดีที่สุดในปี 2559 มาเป็นหลักประกันเสนองาน ครม. 
  กรอบแนวคิดการทำงานจะใช้ กศน.ตำบลเป็นฐานในการทำงาน จะเอาสภาพปัญหาของประชาชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอายุตั้งแต่ 15-59 ปีและกลุ่มที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หมายความถึงผู้สูงอายุ ซึ่งมีประมาณ 50 ล้านคน
            1. กลุ่มเป้าหมายทั่วไป จะประกอบด้วย ผู้พลาดโอกาส ผู้ด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน
            2. กลุ่มเป้าหมายพิเศษ จำนวน  10  ล้านคน  จะประกอบด้วย คนพิการ เด็กเร่ร่อน กลุ่มชาตพันธุ์แรงงานต่างด้าว ที่หลายคนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ไม่รู้หนังสือ  และมีการอ่านน้อยมาก อยู่ที่ 37 นาที/คน/วัน  ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติด ส่งผลถึงชาติ และสิงแวดล้อม ให้คน กศน.นำปัญหาเหล่านี้ไปแก้ไข สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ส่งเสริมยกระดับการศึกษา       รักการอ่าน   มีความพอเพียง การคิดเป็น  รู้จักแสวงหาความรู้ ที่สำคัญมีจิตสาธารณะ ให้ครูใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     และปรัชญาคิดเป็น ในการทำงานของคน กศน.และเป็นข้อตกลงการทำงานร่วมกัน
         หลักในการคิดเป็น
         -คนที่มีศักยภาพสามารถในการตัดสินใจ รู้จักการใช้ข้อมูลภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เอาข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อตัดสินใจ และปฎิบัติถ้าสำเร็จก็จะมีความสุข
         - เน้นเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นหัวใจของการให้คนรู้จักพึ่งตนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย  การศึกษานอกระบบ  ประกอบด้วย การศึกษาพื้นฐาน  ยกระดับการศึกษาประชาชน  การสอนคนที่ไม่รู้หนังสือ จากไม่รู้เข้าสู่ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ปวช  มีประเภท พบกลุ่ม ทางไกล เทียบโอน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การศึกษาต่อเนื่อง  จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน
1.การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
2.การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
3.การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชมุชน
4.เทคโนโลยีที่เหมาะสม  เอาภูมิปัญญาที่มีอยู่มาบวกกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  เช่น พลังงาน อาหาร ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับเทคนโนโลยีในปัจจุบัน  ปรับให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต  
วิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
1.ใช้กิจกรรมกลุ่มสนใจ ทำให้คนมีอาชีพ ทักษะชีวิต  ให้จัดการจัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรระยะสั้นระมาณ ไม่เกิน 30 ชั่วโมง เหมือนการจัดวิชาชีพ  1 กลุ่ม มีตั้งแต่ 6 คน ขึ้นไป   ขณะนี้จะพิจารณาค่าวัสดุบางส่วนให้แต่ไม่มากนัก และให้ค่าตอบแทน 200 บาท/ชั่วโมง เพื่อให้ครูจัดกิจกรรมได้อย่างสบายใจ   ครูสามารถจัด  กิจกรรมตั้งแต่  1-2 ชั่วโมง  หรือ 10 ชั่วโมง  การทำกล้วยบวดชี  เอาวัสดุมา  การทำอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
2.ชั้นวิชาเรียน  หลักสูตร 30 ชั่วโมงขึ้น ไป แต่ไม่เกิน 100 ชั่วโมง  ใช้ระเบียบ กศน.เบิกค่าวัสดุ และค่าตอบแทนวิทยากร การจัดการศึกษานอกระบบจะต้องมีหลักสูตร 
3. การฝึกอบรม เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จะตกลงกับบัญชีกลางเพื่อเบิกค่าอาหารกลางวันจะติดตามและส่งไปพื้นที่  แต่ช่วงนี้ใช้กลุ่มสนใจและวิชาชีพไปก่อน  การจัดการศึกษานอกระบบจะต้องมีหลักสูตร 
การศึกษาตามอัธยาศัย
คือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างให้คนรักการอ่าน  ไม่มีหลักสูตร แต่ มีวิธีการจัดเพื่อกระตุ้นการรักการอ่าน นิทรรศการ  ทำรถเคลื่อนที่ หีบหนังสือสู่ประตูบ้าน การแหล่งการเรียนรู้ชุมชน  ระดับครอบครัว ภูมิปัญญา ผู้รู้  หลักสูตรระยะสั้น  หรือกลุ่มสนใจ เช่นการจัดหลักสูตร ระดับหมู่บ้าน  ศูนย์การเรียนชุมชน  ร่วมกับวัด สถานประกอบการ โรงงานต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นสถานทีให้มีการพบกลุ่ม  หรือหน่วยทหารจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนในทหารได้
ระดับตำบล  ศูนย์ขนาดใหญ่ ศูนย์กลางของตำบล  เช่น กศน.ตำบล คือที่ที่ครูอยู่  มีคณะกรรมการเข้ามามีส่วนร่วม  ถือเป็นห้องเรียน
ระดับอำเภอ  เป็นสถานศึกษา  หรือโรงเรียน  ศูนย์วิทยาศาสตร์  ศูนย์ฝึกอาชีพ เป็นหน่วยปฏิบัติการ
ระดับจังหวัด  เป็นหน่วยกำกับการทำงาน 

นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่เกี่ยวกับสำนักงานกศน.
1. การแปลงพระราชดำรัสฯเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
2, การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
3.การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
5.จัดโครงการติวเข้มเต็มความรู้
6.จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย
7.ส่งเสริมการศึกษาและพัมนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
8.ให้กศน.ตำบลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
9. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
5 ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพการศึกษา เร่งลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือมุ่งเน้นจัดการศึกษานอกระบบให้กับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ อาทิ
ประชาชนวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กออกกลางคัน พื้นที่ชายขอบ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
เร่ร่อน กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ชายแดนใต้ แรงงานต่างด้าว การใช้กศน.ตำบลเป็นฐาน  ได้รับการประสานจากกระทรวงไอซีที  มีการติดตั้งอินเตอร์ทุกตำบล กกต.ในการให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประชาธิปไตยชุมชนใช้กศน.เป็นศูนย์ประสานการรับร่างรัฐธรรมนูญ
2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างอุดมการณ์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์ ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การสร้างจิตสาธารณะ การต้านยาเสพติด  ในรูปแบบกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมค่าย การแข่งขันกีฬา
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นให้ชุมชนรักการอ่าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนในรูปแบบกลุ่มสนใจในเรื่องต่างๆ อาทิการจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพอนามัย ความรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ความสามัคคีปรองดอง ความพอเพียง
4.ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างและกระจายโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนมอบให้มีการชี้แจง แผนระดับตำบล อำเภอ จังหวัด แต่ละไตรมาทำเท่าได้ 

กลไกบริหารจัดการ  PDCA 
p คือการวางแผนข้อมูลระดับจุลภาค  แผนกลยุทธ์  ตัวข้อมูลจุลภาค ให้ครูกศน.ตำบลกรอกข้อมูลทั้ง 3 ประเภท  โครงสร้างพื้นฐาน  ทีมงานเป็นยังไง  มีหนังสือ โต๊ะเท่าไหร สร้างด้วยงบประมาณ หรืออยู่กับหน่วยงานใดเอง ต้องอยู่ด้วยปัจจัย 4 ให้วิเคราะห์เหตุผลพึ่งตนเองฌดยการลดรายจ่าย เน้นการเรียนรู้คู่คุณธรรม  ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย  รวบรวมส่งในระบบฐานข้อมูลตำบลด้วย  การศึกษา แยกการศึกษา
 แผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 
 D  ระดับปฏิบัติการ  ใช้ระบบการมีส่วนร่วม  การตรวจสอบได้  รู้จัการใช้นิติธรรม  การใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมในการทำงาน  ถูกขั้นตอน ต้องมีหลักสูตร  ตอนนี้กป กำลังจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้จะส่งไป
คู่มือบัญชีพัสดุ 
C การประเมิน  นิเทศ ติดตาม ประเมิน  ตามตัวชี้วัด  รายงานผล  ตัวชี้วัดกำลังจัดทำเร็วนี้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของบุคลากร  แต่ละตำแหน่งไม่เหมือนกัน ในครูแต่ละประเภท เน้นบทบาทหน้าที่  แต่ทั้งหมดจะมีตัวชี้วัดเหมือนกันหมด  คือสามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด สูงกว่า คะแนนก็สูง เสมอตัวก็คะแนนกลาง  ปริมาณ จะร้อย 50 เชิงปริมาณ ร้อยละ 50 เชิงคุณภาพ
A คือ ตัวพัฒนาและปรับปรุง  เน้นการประเมินและพัฒนาอยากให้คนทำงานด้วย หัวใจ ศรัทธา และความคิด  กศน.สามารถต้องเชื่อว่างานกศน.สามารถแก้ไขปัญหาได้  และใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาบริบทของชุมชน

การศึกษาพื้นฐาน  ตัวเลขอาจเพิ่มตัวเล็กน้อย  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ใช้ฐานปี 58 เป็นฐาน จัดทำให้ภาคเรียนที่2/58
การศึกษาต่อเนื่อง  ให้ทำเป็นแผนส่งไป และทำเป็นรายไตรมาส  เรื่องของอาชีพ สังคมชุมชน เช่น การศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรอาชีพ แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.ช่างพื้นฐาน ข้อ 2 (2) การพัฒนาอาชีพ หรือต่อยอดอาชีพเดิม  ทำในรูปของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชุม ระบุเป้าหมายไปให้ จะส่งไปจังหวัด จังหวัดส่งไปอำเภอ งบอาชีพ เป็น งบรายจ่ายอื่น  ให้ใช้กลุ่มใจ  ชั้นเรียน  ทำกับใคร    โครงการอันเนื่องพระราชดำริ  ภาคเหนือ    โครงการชายแดนใต้  ภาคใต้
โครงการยุทธศาสตร์และจุดเน้น  เช่นทวิศึกษา  ลูกเสื้อ ยุกาชาดเป็นโครงการเดียวกัน
การประเมินผลตามตัวชี้วัดที่กำหนด เช่นวิชาชีพพื้นฐานวิชาชีพ  1 หลักสูตร 10 คน ปรากฏว่าทำได้ดี ทำ 12 คน เกินเป้า  ไตรมาส2 กำหนด 2 หลักสูตร ทำได้ 1 หลักสูตร  ห้ามทำและเดินหน้าในไตรมาส 3 ต่อไป ถ้าทำงานเสร็จก่อนเวลา  หลังจากนั้นถึงจะกลับมาเอาไตรมาส 2 มาจัดทำต่อ
คำรับรองปฏิบัติงาน  หลายคำรับรอง  เช่นมีครู หลายคน  มีแผนเดียวกัน ส่งคำรับรองให้ที่อำเภอ ตามลำดับ อยากให้บันทึกคำรับรองในฐานข้อมูลกศน.ตำบลด้วย
งบประมาณสำหรับผู้สอนพิการ  จะจัดสรรไปให้  6  เดือน ก่อน  ซึ่งงานตรงนี้จะต้องดูอย่างใกล้ชิด
งบการศึกษาของภาคใต้  จะจัดสรรไปให้
  ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ กล่าวขอบคุณ สรุป ส่่วนที่ 1 การกรอกข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานตำบล  ส่วนที่ 2 ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย  แผนคำรับรอง  ส่วนที่ 3 ฐานข้อมูล ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในตำบล  คณะกรรมการ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นฐานข้อมูล  นักศึกษาที่ลงทะเบียนๆไอที
กิจกรรมทักษะชีวิต เป้า 420  กิจกรรมที่ 3 เอา 9 ตำบล มี 9 ตำบล  บ้านเอื้อม เป้า  นิคม  ทุ่งฝาย บ่อแฮ้ว  เวียงเหนือ  ชมพู  บ้านแลง สวนดอก 
ตามรอยยุคลฯ หมู่บ้านละ  2 คน
กิจกรรมยุวลูกเสือ จัดโซนได้  อย่าจัดมาก  หลักสูตร ปฐมพยาบาล  ดูแลผู้สูงอายุ  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สำหรับกิจกรรมคุณธรรม  12  ประการ ได้ตกลงกันว่าจะใช้วิธีสอดแทรกในการจัดยุวกาชาดและกิจกรรมลูกเสือจะจัดเป็นบางกลุ่ม   เลิกประชุม ได้จัดทำระบบการบริหารจัดการที่ยังไม่เรียนร้อย แต่มีปัญหาไม่สามารถขึ้นเว็ปได้เนื่องจากมีผู้เข้าระบบมาก ได้ลองเข้าหลายๆครั้งจนถึง  1 ทุ่มก็ไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้
  







วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่  29  พฤศจิกายน  2558

                วันนี้ได้จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน    45  คน  นักศึกษาส่วนใหญ่มาก่อนเวลา  10  นาที แล้วมาช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียนโดยที่ครูยังไม่ได้สั่ง  เปิดประตูหน้าต่าง เช็ดโต๊ะ   นักศึกษาที่ไม่เคยมาเมื่อครูไปตามถึงบ้านก็ยังมาพบกลุ่ม แต่วันนี้ก็ยังมีนักศึกษาขาดเรียนอีกจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีงานแต่ง  2 หมู่บ้านคื่อบ้านหมอสม-วังแคว้งและบ้านไร่ข่วงเปา ได้อณุญาตแล้วให้มาติดตามงานที่ครู   บรรยากาศวันนี้ค่อนข้างดีเพราะนักศึกษามีความตั้งใจและติดตามงานที่ไม่ได้หลายคน




  
                       เวลา 18.30  น.ได้ไปร่วมฟังสงดอภิธรรมและเทศน์งานบุญไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษมเขมโกกับข้าราชการ คณะครู กศฯ.อำเภอ เมืองลำปางตลอดจนส่วนราชการพ่อค้าประชาชนที่มาร่วมงาน งานนี้ข้าพเจ้า ครูยุพิน กญจนเชษฐ์ ครูสุมลมาลย์ ก้าวกสิกรรมและครูภสุ เสือนได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนของ กศน.อำเภอเมืองลำปาง ไปวางผ้าไตรบังสกุล



วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันเสาร์ที่  28  พฤศจิกายน  2558
            วันนี้ได้ออกไปเก็บแบบสำรวจการบริหารจัดการงานไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า  กับครูรุ้งดาว ไชยสิทธิ์และครูสุมลมาลย์  ก้าวกสิกรรม  ช่วงบ่ายได้จัดเตรียม  ใบงานและใบความรู้ให้นักศึกษา กศน. ปงแสนทอง  ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย








วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แผนปฎิบัติการประจำสัปดาห์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - วันที่ 6 ธันวาคม 2558


แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่  30 พฤศจิกายน    2558  - วันที่  6  ธันวาคม  2558
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558  กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  กศน.อำเภอเมืองลำปาง    

วันที่   1  ธันวาคม  2558 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง ถ่ายภาพบ้านหนังสืออัจฉริยะ หมู่ 3  และภาพประธานกรรมการ กศนตำบลปงแสนทอง

วันที่  2  ธันวาคม 2558  กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  เข้าพื้นที่ตำบลปงแสนทอง
 
วันที่  3  ธันวาคม  2558   กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง  

 วันที่  4  ธันวาคม  2558   กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง 

วันเสาร์ที่  5  ธันวาคม  2558    หยุดวันเสาร์

 วันอาทิตย์ที่  ุ6   ธันวาคม  2558 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   จัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   ณ  กศน.ตำบลปงแสนทอง

บ้นทึกประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  27  พฤศจิกายน  2558

                   เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง ไปบ้านไร่ข่วงเปา บ้านไร่นาน้อย  บ้านลำปางกลางฝั้งตะวันตก บ้านหมอสม-วังแคว้งและบ้านปงแสนทอง  เพื่อถ่ายภาพสภาพภายในภายนอกและภาพเจ้าของสถานที่บ้านหนังสืออัจฉริยะตำบลปงแสนทอง  แต่เฉพาะบ้านลำปางกลางฝั่งตะวันตกที่ไม่ได้ข้อมูลเนื่องจากบ้านปิด  และกลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปางเพื่อเตรียมร่วมกิจกรรมขบวนแห่ไว้สาอริยสงค์เจ้า






วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ับันทึกประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  26  พฤศจิกายน  2558
            เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลปงแสนทอง วันนี้นัดนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมารับเอกสารในสัปดาห์ที่ผ่านมาในรายวิชาการขายและการตลาด วิชาการเพาะเห็ดฟางได้อธิบายเพิ่มเติมจากใบความรู้ที่ให้เนื่องจากหนังสือมีไม่พอกับจำนวนนักศึกษา  ไปหาประธานผู้สูงอายุเพื่อหารือกิจกรรมที่จะจัดให้กับผู้สูงอายุ  และไปหาอาจารย์จรัล อินแสง เพื่อหารือเรื่องอาชีพการทำเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด  แต่ไม่พบ
            ช่วงบ่ายกลับเข้าศูนย์กศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อจัดทำข้อมูลระบบบริหาร กศนตำบล/บ้านหนังสือชุมชนออนไลน์ สำนักงาน กศน





วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558
                 เวลา 8.00 น .เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือวันวชิราวุธ  ซึ่งเป็นวันสำคัญก่อตั้งลูกเสือไทย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่  และพัฒนา โดยนายสามารถ  ลอยฟ้า  ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางมีผู้เข้ารวมกิจกรรม  900  คน จากโรงเรียนในระบบ และนอกระบบ  ณ  ค่ายลูกเสือจังหวัดลำปาง  (หนองกระทิง)



  

หลังจากร่วมกิจกรรม ลูกเสือแล้วได้เข้ามาแก้ไขแผนการปฎิบัติงาน กศน.ตำบลอีกครั้งหลังจากที่ได้แก้ไขแล้วอัปเดรตแล้วหลายๆรอบ



บันทึกประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  24  พฤศจิกายน  2558
                วันนี้เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง  ดังนี้
                 1. ขอใบสมัครเรียนวิชาชีพ และใบสมัครวิทยากร จากครูพิรุณ
                 2. ขอคำแนะนำจากอาจารย์ยุรัยยาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวชาว พม่าทำงานอยู่ในโรงงานที่ตำบลปงแสนทองแต่อยากเรียนหนังสือ
                3. ทำบันทึกคำรับรองการปฎิบัติงานตำบลปงแสนทอง


    

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน  2558

               วันนี้เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อเข้าร่วมรับชม   ETV สายใย กศน.รับนโยบาย จากเลขาธิการ กศน.นายสุรพงษ์  จำจด ดังนี้
               - เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีเครื่อข่าย 
               - งบประมาณ ได้ส่งลงพื้นที่หมดแล้ว 
                  ให้เอานโยบายและกรอบแนวคิดมาตั้ง เป็นการประชุมโดยเ้นการเอานโยบายสู่การปฎิบัติ แผนปฎิบัติการปี 2559
                  1. กรอบงานในเชิงปริมาณ เป็นงานหลักที่ต้องทำอะไร
                  2. โครงการที่ต้องทำร่วมกัน ในปี 59 จะรวบรวมเป็นแผนปฎิบัติงาน

นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(พลเอกดาวพงษ์  รัตนสุวรรณ)ที่เกี่่ยวกับสำนักงานกศน.   
 1. การแปลงพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
 6. การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
 8. การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 9. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
 18. จัดโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้
 19.จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย
 20.ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 21.ให้กศน.ตำบลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
 24. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กรอบแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต 
             - กลุ่มที่ 1 คือ ผู้พลาดโอกาส
             - กลุ่มที่ 2 ผู้ด้อยโอกาส เช่น ออกกลางคัน และแรงงานต่างด้าว 
             - กลุ่มที่3 ผู้ไม่รู้หนังสืออีก 8 ล้านคน
             - กลุ่มที่ 4 ผู้ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ  27  ล้าน
อัตราการอ่านคนไทยอยู่ 37 นาที     มีความยากจน  ขาดทักษะชีวิต   คุณภาพการศึกษาต่ำ สังคม เหลื่อมล้ำทาง  ขาดความสามัคคี
 ระดับชาติ  สังคมแห่งการเรียนรูตลอดชีวิต   ผอ.อำเภอต้องเร่งเข้าถึงเป้าหมายทำให้คนรักการอ่าน ทำให้ประชาชนมีความเพียง คิดเป็น รู้จักแสวงหาความรู้  สืบค้นเป็น เข้าหาสื่อ  มีจิตสาธารณะ
ระดับชุมชน  ชุมชนเข้มแข็ง
งานกศน. ประกอบด้วย  งานการศึกษาตามอัธยาศัย  บน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญา คิดเป็น  คนคิดเป็นคือ คนที่มีความสามารถหรือศักยภาพในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้
1. ความเชื่อเรื่องมนุษย์มีความแตกต่างกัน
2. ความสุข
3.มนุษย์เป็นสัตย์สังคม จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่ผ่านมาให้ข้อมูลประชาชน  2  ด้าน  ปีนี้ได้มอบหมายให้ กศนจัดทำบัญชีครัวเรือน 
การศึกษาพื้นฐาน  เป้าหมาย ยกระดับการศึกษาของคน  โดยผ่านกระบวยการเรียนรู้ที่มีอยู่
เช่น มาเรียนเอาตรง  แยกเป็นเรียนตรงๆ เช่นพบกลุ่ม ทางไกล โดยสื่อบุคล   สื่อแบบเรียน สื่อที่ดีที่สุดคือสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี  หรือ ETV  ต้องใช้คำถามประเด็นปลายเปิดที่ครูต้องตั้งประเด็นปลายเปิด  สามารถอธิบายได้อย่างกว้างขวาง สภาพที่นักศึกษากศนงเผชิญอยู่  เช่น  สังคมมีการถูกหลอกลวงมาก  โยงทฤษฏีวิชาการเข้าชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้  ศูนย์เทคโน ต้องเอาเนื้อหาที่ต้องการไปสร้างเป็นภาพ   และเรียนอ้อม ไม่ได้มุ่งวุฒิเป็นตัวตั้ง  เพียงเอาความรู้ไปพัฒนาความรู้ พัฒน ทักษะชีวิต  ประกอบอาชีพ เช่น อาชีพ  เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เอาความมั่นคงอาชีพเป็นตัวตั้ง  ท้ายสุดให้เอามาเทียบโอน   ไม่ต้องเรียนประเมินเอา เช่น การไต่ระดับ  เวลาทำแผน
การศึกษาต่อเนื่อง  ให้คนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต  เป้าหมายมี 4 เรื่อง
1.อาชีพพื้นฐาน  ช่างในบ้านมีอะไรบ้างสอนในนั้นแหละ เช่น แอร์ ไฟฟ้า  การซ่อมสามารถเป็นอาชีพได้เช่นกัน
2. ต่อยอดอาชีพเดิม  เช่น พิษณุโลก  กล้วยตาก เขามีการต่อยอดแพ็กกิ่ง จนเป็นที่ยอดรับ
3. ทักษะชีวิต  เช่น ความสามารถในการตัดสินใจ
4. พัฒนาสังคมและชุมชน  สร้างให้คนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
5. เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ต้องการให้คนเรียนรุ้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโนโลยี  เพื่อให้เกิดประหยัดพลังงาน  มาจาก ภูมิปัญญา + ภูมิปัญญา  เป็นเทคโนโลยี  เรื่องโลกร้อน  การเก็บพืชผล ลดต้นทุน  กศน.ควรสอนให้คนรู้จักใช้  จัดผ่านกิจกรรมกศน.อยู่ 3 ตัว 
6. การฝึกอบรม    เวลาเชิญชาวบ้านมา สามารถจ่ายค่าอาหารได้ขอให้รอก่อน
กลุ่มสนใจ  คือ ใช้หลักการเดียวกับการจัดวิชาชีพ  ทักษะวิชาชีพให้จ้ดสั้น ไม่เกิน 30 ชั่วโมง  จะให้เบิกค่าวัสดุได้ 


             - 

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกหลังสอนวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2558

บันทึกหลังสอนวันอาทิตย์ที่  22  พฤศจิกายน  2558

                 จัดการเรียนการสอน นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนจริงได้ทบทวนความรู้พื้นฐานโดยการซักถามเรื่องระบบคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาทราบและรู้จัก ในภาคเรียนนี้จะมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์   3  ภาคเรียนนักศึกษาลงทะเบียนภาคเรียนที่ 1 - 3  รวมทั้งสิ้น    39    คน  มีสื่อคณิตศาสตร์เพียงพอกับจำนวน นักศึกษา  ครูได้ให้นักศึกษาเปิดในบทที่ 1 และอธิบายหนังสือ จนนักศึกษาเข้าใจจึงให้ทอลองทำตามใบงานแลศึกษาจากหนังสือและใบความรู้ทีีครูแจกให้ หลังจากนั้นได้มอบหมายให้กลับไป กรต. โดยให้ทำตามแบบทดสอบจากหนังสือคณิตศาสตร์ บทที่  1   ในวิชาที่เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ครูได้สอบถามความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มอบหมายให้ทำตามใบงานที่ครูแจกให้  ทำ  3  ข้อ    วิชาภาษาไทยได้มอบหมายให้นักศึกษาเขียนเป็นงาน กรตในเรื่องการเขียนจดหมายประเภทต่างๆและให้ไปศึกษา ในสาระที่  4 หลักภาษา  เพื่อที่ครูจะได้สอนเสริมในวันต่อไป     
                 วิชาการขายและการตลาดที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้ง  3  ระดับ  เหมือนวิชาคณิตศาสตร์  แต่สือไม่พอสำหรับนักศึกษา เนื่อจากนักศึกษามีถึง  38  คน  ได้มอบหมายให้ศึกษาจากใบความรู้ที่ครูแจกให้      วิชาการเพาะเห็ดฟาง  มีนักศึกษาลงทะเบียน   41  คน  ได้อธิบายจากสื่อที่มีอยู่ 2 เล่ม และตามใบความรู้ที่ครูแจกให้  นอกจากนั้นหลังจากที่ครูได้อธิบายเรื่องการเพาะเห็ดฟางเสร็จเรียบร้อยจะมอบหมายให้ไปเรียนรู้     ณ    แหล่งเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดฟาง   บ้านอาจารย์จรัส  อินแสง ซึ่งอยู่ด้านหลัง กศน.ปงแสนทอง หลังจากนั้นจะให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติ ณ กศน.ปงแสนทองที่จะทำสวนเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง   จะให้นักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกัน  ในวิชาสุขศึกษาสอดแทรกเรื่องของสถานศึกษาสีขาว  การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดของนักศึกษา กศน.ตำบลและสอดแทรกอันตรายจากเรื่องยาเสพติด ครูได้ผู้สูบบุหรี่ยกมือนับได้ในวันนี้มี  5  คน ได้ขอร้องให้เลิกสูบและเลิกสูบในระหว่างที่เรียน  ได้ให้นักศึกษาไปคิดคำขวัญเรื่องของยาเสพติด  เพื่อเป็นการเตือนตนและผู้ที่ได้มาอ่านคำขวัญ 
                วันนี้ครูได้แจกบันทึก กรต ให้นักศึกษาคนละ  1  เล่ม  ได้อธิบายวิธีการเขียนในบันทึก กรต โดยให้เขียนย้อนตั้งแต่วันปฐมนิเทศ จนถึงปัจจุบัน รวม  3  สัปดาห์ 

ปัญหาการเรียนการสอน
-          - แบบเรียนรายวิชาเลือกมีไม่เพียงพอ
--         - ยังมีนักศึกษามาสายอยู่
-          - นักศึกษาขาดการพบกลุ่มเนื่องจากไปร่วมงานกฐินของชุมชนและทำธุระต่างจังหวัด
แนวทางการแก้ไข




-         

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่  22  พฤศจิกายน  2558
                    จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลปงแสนทอง จำนวน เต็ม  59  คน  วันนี้มีนักศึกษามาเรียน  จำนวน     45      คน และลาไปร่วมกิจกรรมทอดกฐินชุมชนข่วงเปา   10  คน   อีก 4  คน ติดธุระต่างจังหวัด

                    ปัญหาในวันนี้   -    สื่อในวิชาเลือกไม่พอกับจำนวนนักศึกษา ครูได้แจกใบความรู้ในรายวิชา วิชาการเพาะเห็ดฟาง และ วิชาการขายและการตลาด  และแนะนำให้สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต
                                            -    นักศึกษาขาดเรียนเนื่องจากไปร่วมกิจกรรมของชุมชน




แผนการปฎิบัติงาน ประจำสัปดาห์ วันที่ 23 -29 พฤศจิกายน 2558

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 16 - 22 พฤศจิกายน 2558

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่   23 - 29   พฤศจิกายน  2558

วันที่ 23  พฤศจิกายน 2558  กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ เข้ารับชม ETV สายใย กศน.ณ กศน.อำเภอเมืองลำปาง    

วันที่ 24 พฤศจิกายน2558 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง พิมพ์จัดฐานข้อมูล คำรับรองการปฎิบัติงาน กศน.ตำบลปงแสนทอง  

วันที่  25 พฤศจิกายน 2558  กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ ณ ค่ายลูกเสือหนองกระทิง

วันที่  26  พฤศจิกายน 2558   กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง  ประสานประธานผู้สูงอายุ ในกิจกรรมผู้สูงอายุ  ประสานแหล่งเรียนรู้บ้านอาจารย์จรัส อินแสง

 วันที่  27  พฤศจิกายน 2558   กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   บ้านป่ากล้วย นำใบสมัครวิชาชีพไปให้และนัดหมายประชาคม  กลุ่มอาชีพการทำขนมไทย  25  คน ที่จะจัดในเดือนธันวาคม นี้  

 วันเสาร์ที่  28 พฤศจิกายน  2558    หยุดวันเสาร์

 วันอาทิตย์ที่  29  พฤศจิกายน  2558 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   จัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   ณ  กศน.ตำบลปงแสนทอง

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน  2558
 วันนี้เป็นวันหยุด ไม่ได้เข้าไปทำงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง แต่ได้จัดเตรียมเอกสารงานสอนสำหรับนักศึกษา ใบความรู้ ใบงาน และแบบทดสอบ ให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย กศน.ตำบลปงแสนทอง จำนวน  59  คน

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  20  พฤศจิกายน  2558
                เข้าพิ้นที่ตำบลปงแสนทอง  และได้รับคำสั่งให้กลับมาแก้แผนการปฎิบัติงานและคำรับรองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็มีปัญหาเรื่องการใส่จำนวนคน และจำนวนเงินยังไม่นิ่ง เวลา  14.45 น.ได้เข้าประชุม ร่วมกับคณะครูเพื่อรับฟังคำชี้แจงจากอาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตรถึงแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ 2558 สำนักงาน กศน. เกี่ยวกับเงินงบประมาณ กาศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง ได้แกการศึกษาเพื่ออาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ให้จัดในรูปแบบกลุ่มสนในหลักสูตรไม่เกิน  30  ชั่วโมง  รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ  หลักสูตร 30-100 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นช่างพื้นฐานทั่วไป (ช่างประจำบ้าน ) และการต่อยอดอาชีพเดิม   การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต    มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัย โครงการจัดหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ (ศกพเป็นเจ้าภาพ)การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  ได้แก่ โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการหมู่บ้านตามรอยยุคลบาท และกรเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

  

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  19  พฤศจิกายน 2558
                           วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการเข้าอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนการปฎิบัติงานประจำปีงบประมาณ  2559 ผอ.ได้มอบหมายให้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดและห้องสมุดประชาชนอำเภอ นำเสนอแผนการปฎิบัติิงาน ก่อนและได้ซักถามถึววิธีการที่จะให้คนเข้าไปร่วมกิจกรรม ในกรณีไม่มีใครมาสมัครให้กลับๆไปคิดใหม่ถ้ไม่เข้าใจให้เข้าถามผู้อำนวยการ อาตารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตรและหัวหน้างานการศึกษาตามอัธยาศัย  เพราะห้องสมุดต้องเน้นในเรื่องของการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวให้ศึกษาตัวชีวัด และสอดคล้องกับกิจกรรมนั้นๆ ให้ดูเกณฑ์ ปีนี้เป้าหมายของสำนักงาน กศน.จังหวัดลำปางจะส่งห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปางเข้าประกวด ทำแล้วต้องได้ที่ 1
                              ผู้อำนวยการได้พูดถึง กศน.ตำบล 5 ตำบลที่นำเสนองานเมื่อวานว่าเป็นแนวการจัดกิจกรรมเป็นตัวอย่างการทำงานคิดว่ากศน.ตำบลที่จะนำเสนองานก็จะคล้ายกัน ให้ดูเป็นตัวอย่าง   สรุปการทำงานของ กศนตำบล  ต้องใช้ชุมชนเป็นฐาน กิจกรรมที่จะจัดต้องทำงานร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ต่างๆ สถานประกอบการในพื้นที ศูนย์การเรียนในวัด งานทุกอย่างจะลงไปที่ กศน.ตำบล ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานก็บากที่จะทำงาน  การทำงานที่ผ่านมาอาจมองไม่เห็นภาพชัดเจน กรอบแนวคิดปีหน้าเป็นอย่างไร ให้สอดคล้องกับสำนักงาน กศนจังหวัด .คือการศึกษาตลอดชีวิต ชุมชนเข้มแข็ง ในระดับชาติจะเน้นเเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิต  จัดกิจกรรมในระดับชุมชนทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ในระดับบุคคลให้ยกระดับการศึกษา  ต่อจากนั้น ได้มอบหมายให้ กศน.ตำบลพบพี่เลี้ยงตามกลุ่มโซน เพื่อแก้ไขทำแผนการปฎิบัติงานและคำรับรองการปฎิบัติงานให้แล้วเสร็จในวันนี้ และส่งสำนักงาน กศน.จังหวัด

  








วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวันที่  18  พฤศจิกายน  2558
                  เข้าประชุมที่ห้องประชุมเชิงปฎิบัติการ จัดทำแผนการปฎิัติงาน ปีงบประมาณ  2558  ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง  เริ่มต้นด้วยการนำสวดมนต์ของครูสมพงศ์ เรือนนะการ
                 ผอ.ดร.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ เปิดประชุม  ดังนี้
                - การประชุมครั้งต่อไปจะพาไปนอกสถานที่  การประชุมในวันนี้เนื่องจากที่ได้คุยกันเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์ของ กศน. ตัวชีวัด มีหนังสือสั่งการแผนการปฎิบัติงานตำบล ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ  2558 ที่ผ่านมาทั้งหมด  ข้อเสนอแนะ เพื่อนำเอาผล นำมาใช้ปฎิบัติ ในปี งบประมาณ 2559  สิ่งที่สำคัญคือแผนของ กศน.ตำบล  อาจารย์ยุรัยยา อินทวิจิตร กล่าวรายงาน การสรุปผลการปฎิบัติงาน ที่ผ่านมา ปี งบประมาณ  2558โครงการที่ทำมี 28 โครงการ จะนำเสนออุปสรรค์ และแนวทางแก้ไข มีการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข มีการวิเคราะห์ Swot ในภาพรวมของอำเภอ เมืองลำปาง ข้อเสนอแนะจากผู้อำนวยการ  ครูที่จะนำเสนอแผนของ กศน.ตำบลแต่ละตำบล เมื่อตำบลนำเสนอแผนแล้วจะทำในภาพรวมของอำเภอเพราะจะต้องส่งคำรับรองในวันที่ 20  พฤศจิกายน  2558  จากนั้นได้มอบหมายให้ครูสุมลมาลย์ ก้าวกสิกรรม นำเสนอผลกสนปฎิบัติงานของปีงบประมาณ 2558  จำนวน 28  โครงการ    และโครงการที่ไม่ผ่านตามเป้าคือโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ เป้า 210  ผล  54 = 25.72    
               ครูสุมลมาลย์ โดยเริ่มจาก การเสนอปัญหาของกลุ่มงานอำนวยการ คืองานธุรการ ผู้อำนวยการได้พูดถึงการทำงานธุรการที่ผานมา  ระบบสารบัญและสารสนเทศ  ยังไม่เป็นระบบ  หาเอกสารยาก  และหาย หาไม่เจอ ในปีนี้งานธุรการจะเป็นระบบเพราะได้มอบหมายให้  อาจารย์กฤษณะ พัฒนาระบบอยู่ จะมีระบบการนำเสนองาน เช่นการนำเสนองาน สามัญอาชีพ  ทุกอย่างอยู่ในระบบ online ให้ทุกคนปรับความคิด การนำเอาระบบไอซีที  มาใช้ในการทำงาน  เช่น การเงิน  สารบัญ  สารเทศ คาดว่าจะให้เสร็จภายในสิ้นเดือนี้
  อาจารย์ภัสธิดา  งานพัสดุ  ให้เขียนวัสดุก่อนภายใน 7 วัน  งานโครงการ ให้ปริ้นโครงการแนบการจัดซื้อ  ผอ.แจ้งท่าน เลขาสุรพงษ์  จำจด  เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับงานกศน.อย่างมาก  ฝากมาให้ทำถูกต้องตามระเบียบพัสดุ ไม่ทำการซื้อย้อนหลัง  จะจัดกิจกรรมให้ขออนุมัติก่อน  การจัดซื้อผ่่านทางกลุ่มงานตามระบบจะมีการจัดอบรมให้ ประมาณต้นเดือน โครงการบริหารงานระบบ  
   ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  สรุปปัญหา  การเงิน  ไม่ได้การวางแผนการเบิกจ่ายใช้เงิน  การบริหารการใช้เงิน  ไม่การควบคุมงบประมาณในแต่ละงาน  ไม่ว่าจะเป็นกศน.ตำบล  เจ้าของงานไม่รู้เงินคงเหลือของแต่ละงบ   งานการเงินจะต้องมีการระบบคุมเงินการใช้เงินที่ชัดเจน ซึ่งอาจารย์กฤษณะได้ทำProgram ในการผูกพันธ์แล้ว 
การทำงานต่อไปทุกคนต้องทำงานและOnline และรายงานทัทีหลังเสร็จสิ้นการทำกิจกรรม  การประเมินผลครู จะเอาแผนการปฎิบัติงานตำบลเป็นตัวหลักและการทำงานตามไตรมาส แต่ละไตรมาสต้องทำตามที่วางไว้ไตรมาสถ้าไม่ได้ทำก็ไม่ต้องจัด ในการแผนปฎิบัติงานให้ระบุวันเดือนปี ที่จะดำเนินการ และทำตามคำรับรองและแผนการปฎิบัติงาน
    งานอาคารสถานที่  สรุปได้ คือ หลังคาเวลาฝนตก  บริเวณโดยรอบด้านข้างและด้านหลังยังไม่เรียบร้อย   บอร์ดบุคลากรยังไม่เปลี่ยนโดยเฉพาะข้อมูลระดับสูง    มอบให้อาคารสถานที่ดูแลด้วย ให้อยู่ในมาตรการประหยัดพลังงาน ในเรื่องของการใช้ไฟฟ้า 
    งานข้อมูลและการรายงาน    ระบบสารสนเทศ  อ.กฤษณะ  จะเก็บตั้งแต่โครงการ  ไปสู่ผู้บริหาร พัสดุ การเงิน  และเอารูปภาพของกิจกรรมใส่ในโครงการ เป็นรายงานผลการปฏิบัติงาน  เป็นระบบที่เก็บไว้ในทีเดียว  หลังจากที่ระบบจะยุบภาพใน Line และ facebook  ให้รายงานทางเดียวไม่ให้เกิดความสับสน หลังจากระบบสเร็จแล้วครูต้องกรอกข้อมูล   การทำต่อไปนี้ครูทุกคนต้องรายงาน ส่วนของอำเภอ และแผนประจำตำบลขึ้น online ให้สำนัก ตามที่ระบุไว้ จะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงาน และจะเอาแผนและคำรับรอง มาเป็นคะแนน  การทำแผนปฏิบัติการพยายามทำให้ตรงไตรมาส
   กลุ่มจัด ให้ครูจัดทำแผนทุกสัปดาห์ ผู้ไมรู้หนังสือ บันทึกหลังสอน  รายงานประจำเดือน 
   ขั้นพื้นฐาน  ปัจจุบัน  ไม่ได้ทำแผน การจัดตั้งกลุ่ม  บันทักหลังสอน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การส่งเสริมการอ่าน  ทักษะชีวิต 9 ข้อ ให้ทำมาด้วย  การเน้นย้ำนักศึกษาให้มาพบกลุ่ม และเข้าสอบ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น  เป้าที่ได้รับมอบหมายให้แต่ละตำบล  ถ้าทำได้ไม่ถึงเป้าจะเกิดปัญหา  ดังนั้นมีมาตรการ ว่าถ้าจังหวัดไหนทำไม่ได้  ต้องคืนเงินให้สำนัก และส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ ผอ.กศน.จังหวัด  อำเภอ กศน.ตำบล
    งานหลักสูตรการศึกษาภาคภาษาอังกฤษ(EP) มีนักศึกษา  จำนวน 3  คน  ให้จัดครูมาสอนเสริม
    เทียบระดับ  ไต่ระดับ 1 คน  สูงสุด 22 คน 
    ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน    จำนวนชั่วโมงไม่สัมพันธ์กับหลักสูตรที่เรียน  เพื่อให้ได้หลักสูตร มาก  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนสามารถจัดได้ 2 แบบ คือกลุ่มสนใจไม่เกิน 30 ชั่วโมง  คนน้อยเรียนได้ เขียนให้ชัดเจน
หลักสูตรระยะสั้น 40 ชั่วโมงขึ้นไป  มอบให้งานสารสนเทศไปพิมพ์มาและจะสรุปในตอนท้าย   ให้แต่ละกลุ่มงานจัดทำผังระบบการปฏิบัติงาน  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  เพื่อนำเสนอ ให้เสร็จสิ้นเดือนนี้
     การวิเคราะห์ SWOT ของอำเภอ   ให้ไปแก้ไข  ในแต่ละโครงการ 28 โครงการ แล้วรวบรวมเป็น SWOT ว่าตรงกันหรือไม่ โครงการปีที่แล้วไม่มีการวิเคราะห์ขึ้นมา ผอ.แนะว่าให้มีการวิเคราะห์โครงการด้วยเพื่อมีข้อเสนอแนะในการทำโครงการในปีต่อไป  ผอ.  ครูทุกประเภทเป็นครู ประจำกลุ่ม  ครูทุกคนต้องมีกลุ่มนักศึกษาไม่เกิน 40 คน ต่อกลุ่ม ครูกศน.ตำบลศรช ให้สอนพื้นฐาน 1 กลุ่ม  และจัดการศุึกษาต่อเนื่อง รวม 100 คน 
     ครูอาสา  รับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือ 35 คน ไม่ซำ้คน  ไม่พอให้จัดการเรียนกาสอนขั้นพื้นฐาน 60 คน แต่ให้จัดตั้งกลุ่ม  40   คน   ในการจัดตั้งกลุ่ม ต้อง 40 คน ให้แต่งตั้งครูทุกประเภท เป็นครูประจำกลุ่ม าย กลุ่มละไม่เกิน 40 คน และให้ทะเบียนแบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น กลุ่ม ๆละ 40 คนทุกระดับไม่เกิน 
ครูอาสารรับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือภาคเรียนละ 35 คน ไม่ซ้ำคน รวมปีไม่น้อยกว่า 70 เพราะเป็นหลักสุตร 200 คน ถ้าเป็นพื้นฐานซ้ำได้ ผู้ไม่รู้ซำ้ไม่ได้ ครูประจำกลุ่มอื่นๆ เช่น ทหาร เรือนจำ แบ่งเป็นกลุ่มไม่เกิน 40 เช่น บ้านเอื้อม 48 คน ก็ต้องสอนคนเดียว ผู้ไม่รู้หนังสือให้ใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พ.ศ 2547 ควบคู่กับหลักสูตรแกนกลาง การสำรวจผู้ไม่รู้จากจปฐ หากไปสอบถามแล้วต้องมีเหตุผลและหลักฐาน ผู้ไม่รู้หนังสือให้นักศึกษาสอนได้ กพช มีแผนการสอน รูปแบบ ชื่อ วิธีการประเมิน วุฒิบัตรให้เสร็จภายในมกราคม 59 การศึกษาต่อเนื่อง จัดกลุ่มสนใจ อบรม แหล่งเรียนรู้ชมชน 2 แห่ง 
บรรณสัญจรคือการ บริจาคหนังสือ แล้วเอาไปสัญจรตามบ้านหนังสือชุมชนที่มีอยู่ โครงการฐานข้อมูลตำบล งบ 3,000 บาท โครงการกีฬาให้แข่งขัน ตำบล อำเภอ จังหวัด ระดับภาค การสอนภาษาอังกฤษเน้นครูไทยโครงการลูกเสือ ยุวกาชาด อำเภอต้องจัดตั้งกองลูกเสือ อบรมตามหลักสูตรลูกเสือ
องค์ความรู้ตามรอยยุคลบาท ถ้าอำเภอไม่มีให้เอาองค์ความรู้จากพื้นที่ข้างเคียงมาจัดใหักับลูกเสือ
การทำบัญชีครัวเรือน ครู และนักศึกษา ต้องทำบัญชีครัวเรือน ประชาชนทุกหมู่บ้านต้องกำหนด ในแผนบ้านเศรษฐกิจให้ทำบัญชีครัวเรือน 18 คน และสรุปวิเคราะห์แล้วถึงไปจัดเศรษฐกิจพอเพียงให้ การจัดการศึกษาต่อเนื่องให้สอดแทรก การทำบัญชีครัวเรือนด้วย หลักสูตรใหม่จะเริ่มภาคเรียนหน้า 16 พ.ค.59โครงการตามรอยยุคลบาท ให้ทำทุกตำบล เช่นการแก้ไขปัญหาดิน 2 คนที่เป็นแกนนำ 400 บาท
เชิญชวนกิจกรรม bike for Dadการศึกษาทางไกล ให้ครูอาสาเป็นผู้ดูแลต้องมาจากสถาบันทางไกล
เรื่องสำคัญ กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ให้จัดหลักสูตรระยะสั้น อำเภอละ 1 ห้อง ห้องละ 20 คน จบแล้วขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพ 420 ชั่วโมง และ 70 ชั่วโมง ห้องละ 20 คน โครงการเสริมสร้างผู้สูงอายุทุกอำเภอ จัดทุกตำบล ตำบลละ 5 คน  
   ในช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของตำบล ทุ่งฝาย  นิคมพัฒนา บ้านเป้า พิชัย และบ้านเอื้อมเลิกประชุม เวลา 17.00 น