วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 31 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  31 มีนาคม  2559
            เข้าพื้นที่ตำบลปงแสนทอง ไปประสานนักศึกษาร่วมกิจกรรมวันรักการอ่าน ณ  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง วันที่   1  เมษายน   2559  เวลา  08.00 น. กลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง แก้ไขการทำระบบฐานข้อมูล งานการศึกษาขั้นพื้นฐานและศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
            เวลา  11.00 น รับชม ETV เรื่องทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช /2551  โดยนางสาวบุญเลื่อน  สายสินธิ์ ครู กศน.ตำบลจังหวัดหนองคาย
            เตรียมกิจกรรมรักการอ่าน กิจกรรม การทำตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์รักการอ่าน ของ กศน.ตำบลปงแสนทอง

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 30 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  30 มีนาคม  2559
                เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง ไปกับครูพิรุณนำป้ายเศรษฐกิจพอเพียงไปติดตั้งที่ กศน.ตำบลหัวเวียง และนำไปส่งกศน.ตำบลสวนดอก ตำบลพระบาท ไปประสานร้านแม็คฯติดต่อทำป้าย รับสมัคร นักศึกษา กศน.ปงแสนทอง 2  ผืน แต่ยังไม่เสร็จ กลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง  นำวัสดุเพื่อไปสอนผู้สูงอายุที่ กศน.ตำบลชมพู วันนี้ได้นำกิจกรรมการพับกระต่ายจากผ้าขนหนู  หลังจากเสร็จกิจกรรมผู้สูงอายุุได้นำป้ายไปส่'ง ตำบลกล้วยแพะและติดตั้งป้ายที่ กศน.ตำบลปงแสนทอง
               กลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปางเข้าแก้ไขงานในระบบฐานข้อมูลที่ยังมีบางงานที่ยังไม่ถูกต้อง

บันทึกประจำวันที่ 29 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่   29  มีนาคม  2559
      เข้าพื้นที่ตำบลปงแสนทอง  ติดตามกิจกรรมช่างพื้นฐาน การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื่้องต้นและกิจกรรมทักษะชีวิตของผู้สูงอายุุ  แต่ไม่พบประธานชุมชน เพื่องจากประธานติดภาระกิจ ขุดลอกผักตบชวา   เข้า กศน.ปงแสนทอง เพื่อเอาเอกสารจัดตั้งกลุ่มอาชีพ  มาตรวจสอบความถูกต้อง
     กลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อส่งหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน งานพัฒนาสังคมและชุมชนจำนวน  2  กลุ่มและกลุ่มอาชีพการแปรรูปถนอมอาหาร  แต่ งานการเงินไม่อยู่ไปอบรมที่สำนักงาน กศน.ภาคเหนือ  และแก้ไขเอกสาร ที่ถูกส่งมาทบทวนและแก้ไขให้ถูกต้องในระบบฐานข้อมูล และส่งให้ครูสุมลมาลย์  ก้าวกสิกรรม

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 28 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  28  มีนาคม 2559
         
            เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง  ทำชุดเอกสารข้อมูลส่วนตัว พร้อมแนบ Fileรูปพนักงานราชการ  มีเพื่อส่ง กศนจังหวัด  เวลา  13.00 น. เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง กับครูนาตยา ทุนกุล ครูยุพิน กาญจนเชษฐ์ เพื่อประชุมร่วมกบคณะกรรมกรสถานศึกษา มสท และ กศน. ที่ ห้องประชุมชั้น  3  ของโรงเรียนปงแสนทองวิทยา เพื่อหารือการจัดการโรงเรียนปงแสนทองวิทยาให้เกิดประโยชน์หลังยุบโรงเรียนแล้ว
            หลังจากเลิกประชุมเวลา  15.30 น.ได้กลับเข้าทำงานที่ กศน.การจัดระบบงานฐานข้อมูล ของกศน.ปงแสนทอง แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย เวลา  18.00 น.เข้าพื้นที่ตำบลกล้วยแพะ บ้านหัวฝายกับครูรุ้งดาว  ไชยสิทธิ์  เพื่อทำกิจกรรมงานผู้ไม่รู้หนังสือตำบลกล้วยแพะ

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่  27   มีนาคม   2559
    
       เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลปงแสนทองเพื่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท  กิจกรรม  การปลูกผักปลอดสารพิษ  มีผู้เข้าอบรมจำนวน  30  คน   การจัดกิจกรรม  มีการให้ความรู้ ทางด้านทฤษฎี  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทรงงานของในหลวง ที่ผู้เรียนรู้จัก หลังจากนั้นได้ให้ผู้เรียนรู้จากการปฎิบัติจริง โดยการให้ผู้เรียนขึ้นแปลงผักด้านหลัง กศน/. โดยวิทยากร สอนวิธีการขึ้นแปลงผัก การวัดขนาดความกว้างยาวของแปลงเพื่อปลูกและหว่านเมล็ดพันธ์ุ   วิทยากรได้สอนวิธัปลูกผัก   จนเสร็จกิจกรรมได้มอบหมายเรื่องการรดนำ้ผัก แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องนำ้เพราะที่นี่นำ้เปิดและปิดเป็นเวลา  จึงให้นางกัลยา  สุขรัตน์ที่อยู่บ้านใกล้ กศน.ที่สุดเป็นผู้ดูแลเรื่องการรดนำ้ผัก  จากนั้นได้แจกเมล็ดพันธ์ุให้ตัวแทนหมู่บ้านในแต่ละหมู่นำไปขยายผลในพื่นที่ของตนเอง  

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันเสาร์ท่ี่  /26  มีนาคม  2559

                    เข้าพื้นที่  กศน.ตำบลปงแสนทอง เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  กิจกรรม เทคนิคการกำจัดศัตรูพืช จำนวน  5  ชั่วโมง  มีนายสมาน  ใจเย็น  หัวหน้าเจ้าที่เทคโนโลยีประจำตำบลปงแสนทอง  มีเข้าเข้าร่วมกิจกรรม   -30    คน

บันทึกประจำวันที่ 25 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  25  มีนาคม  2559
                   เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง ประสานวิทยากรการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กิจกรรม เทคนิคการกำจัดศัตรูพืช  ประสานจัดจ้างทำอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน  22  คน  การสั่งซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการอบรม  
                    เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง แก้ใบลงเวลาวิทยากร  จัดชุดเบิกเงินงานเศรษฐกิจพอเพียง ส่งให้งานการเงิน ประสานกับพัสดุเรืองป้ายไวนิล และวัสดุ กิจกรรมเทคนิคการทำสารไร่แมลงและกิจกรรม ตามรอยพระยุคลบาท  แก้ไขงานระบบฐานข้อมูล
                   เวลา 18.00 น. เข้าพื้นที่บ้านไร่สันติสุข กับครูรุ้งดาว ไชยสิทํธิ์  เพื่อเปิดกลุุ่มอาชีพการทำขนมไทย  หลักสูตร  50 ชั่วโมง  โดยมีนางกัญญาวีย์  ธงศิลา เป็นวิทยากร  หลังจากนั้นไปนิเทศกลุ่มอาชีพการแปรรูปถนอมอาหาร  พบผู้เรียนกำลังทอดกล้วยเพื่อทำกล้วยฉาบ  วันนี้มีกิจกรรมการทำกล้วยฉาบ และการทำแยมส้มโอ เป็นการทำซำ้ เนื่องจากแยมที่ได้มีรสขมนิดหน่อยจึงได้ทำใหม่


                    

แผนการปฎิบัติงานประจำวันที่ 28 มีนาคม 2559 - วันที่ 3 เมษายน 2559


บันทึกการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ที่ 28  มีนาคม  2559 - วันที่  3 เมษายน  2559

วันที่  28 ,มีนาคม 2559    กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง /กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่    29  มีนาคม   2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  ตำบลปงแสนทอง/กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  30  มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  31   มีนาคม  2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  อำเภอเมืองลำปาง

วันที่ 1  เมษายน 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  ห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองลำปาง

วันเสาร์ที่่่  2  เมษายน 2559    หยุดเสาร์กิจกรรม/ งานที่ปฎิบัติ  กศน.ตำบลปงแสนทอง
 วันอาทิตย์ที่  3  เมษายน 2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง

บันทึกประจำวันที่ 24 มีนาคม 2559

    บันทึกประจำวันที่  24  มีนาคม  2559

                    เข้าประชุมร่วมกับข้าราชการ  และคณะครูเพื่อรายงานการจัดกิจกรรมของครู ตำบล  19  ตำบล ไตรมาส  1  โดยมีผู้อำนวยการ ณราวัลย์   นันต๊ะภูมิ เป็นผู้เปิดการประชุม และอาจารย์กฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม
                  รายงานผลการดำเนินงาน และไตรมาส
รายงานไตรมาส ให้รายงานไตรมาส 1 และ 3 งานพื้นฐาน งานอัธยาศัยกรอกทุกไตรมส   การคร่อมไตรมาส จะนับวันสุดท้ายของการจัดกิจกรรม  การทำฐานข้อมูลไม่คีย์ไตรมาสเนื่องจากนับเป็นแห่ง
ระบบของการทำหนังสือเวียน น่าจะพร้อมในอาทิตย์หน้า จากเดิมเซ็นด้านหลังเอกสาร ตอนนี้ให้ทำเป็นระบบรับทราบผ่านตัวโปรแกรม เช่น กศน.สบตุ๋ย จะมีเอกสารแถบสีแดงขึ้นก่อนเข้าสู่ระบบให้คลิกรับทราบ
การนำเสนอของ ตำบลนิคมพัฒนา   ผลของผู้เรียนเป็นอย่างไรในแต่ละคน ให้ออกมาเป็นรูปเล่มด้วย อันนี้ไม่ใช่สรุปผลการดำเนินงาน สรุปผลคือ ผู้เรียนได้เรียนอะไร(ดูตามแผน)  ผู้เรียนเป็นไงบ้าง มีความก้าวหน้ามากน้อยแต่น้อย  เพจ ทำอะไร ทำกี่เรื่อง มีผู้เข้าชมกี่คน  บล็อคได้ทำกี่บล็อค กี่เรื่องมีผู้เข้าชม กี่คน เกี่ยวกับเรื่องอะไร มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างไร  ต้องมีการรายทุกกิจกรรมทุกๆกิจกรรม และสมบูรณ์แบบ ถ้ากิจกรรมทำไปแล้วต้องมีเป็นรูปเล่ม

การชมETV
แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วม ทวิศึกษา
สุทธนี งามเขต
วัลภา อยู่ทอง
การอบรมครั้งนี้เป็นติใหม่ของกศน.โดยใช้สื่อของกศน.ที่มีอยู่แล้ว มีการทดสอบก่อนอบรม และหลังอบรม ครูและผู้บริหารสามารถดูเทปย้อนหลังและศึกษาจากเอกสารได้ พัฒนาดาวโหลดดอลคอม การใช้สื่อทางไกล ผลเป็นอย่างไร
หลักสูตรการจัดการศึกษาของกศน.และปวช ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้สองวุฒิในสามปี  ต่อไปก็เป็นกระบวนการการศึกษา
ปัญหาของการเรียนร่วม  เวลาไม่ลงตัว เพราะเด็กต้องมีเวลาเรียน มีการฝึกงานทำให้การจัดการศึกษาต้องใช้เวลาเรียนมากขึ้น

การจัดแผนการเรียนนำไปสู่ผลการเทียบโอน อ.วัลภา อยู่ทอง การจัดแผนการเรียนรู้
      ปัญหาคือ  ใบรบในแต่ละภาคเรียนเกินกว่า 24 ชั่วโมงต่อวันที่ต้องเรียน ต้องให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง อาชีวคาบละ 60 นาที หน่วยกิจ 40 ชั่วโมงเท่ากับ 1 หน่วยกิต  มีทฤษฏีและปฏิบัติ การคิดค่าหน่วยกิจ 1 ชั่วโมงต่อ 1 หน่วยกิจ  ปฏิบัติกิจกรรม 2 สัปดาห์ 54 ชั่วโมงต่อ 1 หน่วยกิจ  ในหลักสูตรอาชีวจะกำหนดเป็นทำทฤษฏี
     กรอบโครงสร้างหลักสูตรปวช. 2556

 หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า22 หน่วยกิต โดยกศน.
1.หมวดวิชาทักษะวิชาชีพไม่น้อยกว่า 71หน่วยกิต โดย สอศ.
1.1กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า (18) โดย กศน.
1.2กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ(24)
1.3กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า(21)
1.4ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ(4)
1.5โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ(4)
2.หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต  โดย กศน.
3.กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2 ชม./สัปดาห์) หน่วยกิต  โดย กศน.
รวมระหว่าง103-120 หน่วยกิต

หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
ให้เรียนรายวิชาลำดับแรกของทุกกลุ่มวิชาหรือตามที่กลุ่มวิชากาหนดและเลือกเรียนรายวิชาส่วนที่เหลือตามที่กาหนดในแต่ละกลุ่มวิชาให้สอดคล้องหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เรียนอีก รวมไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
เรียนหลักสูตร ม.ปลาย 2551สพฐ. (รายวิชาพื้นฐาน) 41 หน่วยกิต./ กศน. (รายวิชาบังคับ) 44นก. เทียบโอนฯ สู่ ปวช.2556

2 กลุ่มวิชาภาษาไทยไม่น้อยกว่า 3 นก.
1.2กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่า6นก.
1.3กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า4นก.
1.4กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า4นก
1.5กลุ่มวิชาสังคมศึกษาไม่น้อยกว่า3นก.
1.6กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาไม่น้อยกว่า2นก. สามารถพัฒนาเพิ่มเติมในลักษณะจาแนกเป็นรายวิชาหรือบูรณาการ

2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 71 นก.
2.1กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน 18นก.
2.2กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ24นก.
2.3กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกไม่น้อยกว่า
21นก.2.4ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ4นก
.2.5โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ4นก.
สอนโดย สถานศึกษาอาชีวศึกษา  เทียบฯ สู่หลักสูตร สพฐ. (วิชาเพิ่มเติม) 40 นก.
หลักสูตร กศน. (วิชาเลือก)32นก.

การสาเร็จการศึกษา
•ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
•ได้จานวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา•ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า2.00และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ•เข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผ่านทุกภาคเรียน

การประกันคุณภาพหลักสูตร
•ให้สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 5ปี
1)คุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษา
2)การบริหารหลักสูตร
3)ทรัพยากรการเรียนการสอน
4)ความต้องการของตลาดแรงงาน

รงสร้างหลักสูตรกาหนด
•จัดรายวิชาในแต่ละหมวดวิชาให้ครบตามโครงสร้าง
•จัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิตกระจายทุกภาคเรียน
•จัดวิชาชีพพื้นฐานในภาคเรียน 1-2ยกเว้นรายวิชาส่งเสริม/สนับสนุนงานอาชีพ
•จัดวิชาชีพสาขาวิชา/วิชาชีพเฉพาะในภาคเรียน 2-3เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือก

แนวทางการจัดแผนการเรียน
จัดรายวิชาตามลาดับง่าย-ยาก เป็นไปตามเงื่อนไขโครงสร้างหลักสูตรกาหนด
•จัดรายวิชาในแต่ละหมวดวิชาให้ครบตามโครงสร้าง
•จัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิตกระจายทุกภาคเรียน
•จัดวิชาชีพพื้นฐานในภาคเรียน 1-2ยกเว้นรายวิชาส่งเสริม/สนับสนุนงานอาชีพ
•จัดวิชาชีพสาขาวิชา/วิชาชีพเฉพาะในภาคเรียน 2-3เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือก
 - จัดวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือกในภาคเรียนที่ 2เป็นต้นไป
- จัดวิชาโครงการในภาคเรียน 5 หรือ 6
- จัดวิชาฝึกงานและรายวิชาชีพ ไปเรียนและฝึกในสถาน-ประกอบการภาคเรียนที่ 5-6
- จัดวิชาเลือกเสรีในภาคเรียนที่ 3 เป็นต้นไป
- จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2ชม./สัปดาห์ทุกภาคเรียน
- จัดวิชาในภาคฤดูร้อนให้พอดีกับเวลาเรียน (เทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ ประมาณ 12นก.)
- ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง
    แผนการเรียนหลักสูตรปวช    
•เวลาเรียนไม่เกิน 35ชม.ต่อสัปดาห์ รวมกิจกรรมฯ 2ชม.ต่อสัปดาห์
•ภาคปกติไม่เกิน 22หน่วยกิตต่อภาคเรียน
•ภาคปกติไม่เต็มเวลา/ภาคฤดูร้อนไม่เกิน 12 หน่วยกิต ต่อภาคเรียน
•อัตราส่วนการเรียนรู้หมวดทักษะวิชาชีพ ท.:ป. ประมาณ 20:80
รหัสวิชา  กำหนดตามรหัสหลักสูตร  ชื่อวิชา มีรายวิชาที่ต้องเรียนก่อนหรือไม่

XXXX-XXXX  1234-5678   1ระดับหลักสูตร(2=ปวช.)2ประเภทวิชา/วิชาเรียนร่วม3-4สาขาวิชา/วิชาเรียนร่วม5-6สาขางาน/กลุ่มวิชา7-8ลาดับที่วิชา
       การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
     การสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ได้รายวิชาและจานวนหน่วยกิตสะสมในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากาหนด
2.ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00
3.ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
4.ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรและ “ผ่าน” ทุกภาคเรียน ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากาหนด
   การประเมินสาขาวิชาชีพ จะผ่านหรือไม่ผ่านไม่เป็นไร ขอให้เข้าสอบ
  แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของครู ตอนนี้กศน.ได้ทำรหัสไว้แล้ว ไม่ต้องคิดใหม่ ใช้เลข 8หลักคั่นด้วย 4 ตัวหลัก 
    ระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อหมวดเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  การประเมินผล คำที่ใช้ในส่วนที่ 5 ส่วนที่ 2 การประเมินเมือสิ้นสุดภาคเรียน 
    การประเมินผลการเทียบโอนผลการเรียน  การจัดทวิศึกษา เอาโครงสร้างมาเทียบ วิชาส่วนกศน.วิชาบังคับ 44 หน่วยกิต  ทักษะชีวิต 22 หน่วยกิจ  อังกฤษ 6 หน่วตกิต  อาชีวจะสอนอังกฤษให้ในวิชาเลือก  แต่ตอนหลังกศน.เพิ่มการอ่านเขียนอังกฤษ ขึ้น 2 หน่วยกิต เพื่อให้ครบ 22 หน่วยกิต สำหรับวิชาเลือกให้เอาทักษะวิชาชีพเข้าไปโอนผลการเรียน  หลักสูตร กศน.เรียน 78 หน่วยกิต
    ในการเทียบโอนผลการเรียนจากเกรดมาเป็นเกรด ตอนนี้มีการวิเคราะห์ให้แล้ว ครูต้องพิจารณาว่าเด็กได้เกรดอะไร ต้องมีเนื้อหาตรงกันร้อยละ 60  จำนวนหน่วยกิตของกศน.และอาชีวจะไม่เหมือนกับกศน.
    ในกรณีที่ได้ต่ำกว่า 2 เทียบโอนได้แต่จะได้เกรดน้อย  ถึงว่าจะประเมินผลใหม่ผลก็จะไม่ต่ำกว่าเดิมต้องดูระเบียบด้วย ถ้าต่ำกว่าเท่าไรเป็น 0 จนถึงเกรด 4 
    รูปแบบของการเทียบโอน
    การให้ค่าหน่วยกิตของกศน.และอาชีวะไม่เหมือนกัน 
    ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่รายวิชาบางรายวิชา ต้องเรียนเพิ่ม ซึ่งยังเป็นขั้นต่ำของอาชีว คือ 103 อาชีวะ กศน. 117
     ข้อสรุป
     โครงสร้างหลักสูตร ผลการเรียนรายวิชา ต้องนำมาเทียบโอน ครูต้องศึกษาและมีความพร้อมในหลักสูตรอะไร มีสาขาอะไรที่เปิดอยู่แล้ว เมื่อจบแล้วจะไปทำงานอะไรได้บ้าง 
     คำถาม
     สถานศึกษาสามารถจัดวิชาบังคับในปีแรก ได้หรือไม่  จะทำให้เงินงบประมาณมีปัญหา โดยหลักเรียนคู่กัน แบ่งกันในแต่ละภาคเรียน  2 หลักสูตรคู่กันไป สำหรับการเรียน เรียนกศน. 9 สัปดาห์ และอีกครึ่งเทอมไปเรียนปวช.ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาได้ตกลงกัน
    อาชีวะ มีการเรียกเก็บการจัดการศึกษา  ปวช.เป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับ ไม่เก็บค่าเล่าเรียน  ถ้าเป็นนอกเวลาและภาคฤดูร้อนต้องมีการเก็บ  การเก็บเงินภาคปฏิบัติขึ้นอยู่กับสาขาวิชา อาชีวะมีเงินอุดหนุน เช่น ค่าสื่อ ชุดปฏิบัติ
    ถ้าจบ ม3 ต้องเรียนแบบม.ปลายในระบบ  สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) เรียนกศน. ก็มาสมัครที่ กศน.ประเทศ
     สัปดาห์หน้า ดูการทบทวนหลักสูตร กศน. 51 แนวทางการเรียนร่วมทวิศึกษา ขั้นตอนการปฏิบัติ เวลา  10.00  น 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 23 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  23 มีนาคม  2559

               เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง  จัดทำเอกสารงานประกันเพื่อรับการตรวจสอบภายในจากต้นสังกัด  ทำเรื่องเบิกเงิน ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรม การแปรรูปถนอมอาหาร  ตรวจเช็คข้อสอบปลายภาคส่งงานทะเบียน  

              เวลา  18.00 น. เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลปงแสนทอง บ้านไร่สันติสุข กับครูรุุ้งดาว ไชยสิทธิ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน   25  คน  วิชาการทำขนมไทย  หลักสูตร  50  ชั่วโมง  ในวันที่  25  มีนาคม  2559  นัดหมายเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบกิจกรรม ดังกล่าว



                 

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 22 มีนาคม 2559

บันทีกประจำวันที่  22  มีนาคม  2559
   
                   เข้าพื้นที่ตำบลปงแสนทอง ประสานวิทยากรเรื่องขอหลักฐานการเบิกจ่ายเงินเพิ่มขึ้น อีก  2  ชุด  และหาข้อมูลกลุ่มการปลูกผักปลอดสารพิษ ตามแนวคิกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  กลับเข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง ทำเรื่องเบิกเงินให้วิทยากร การทำบัญชีครัวเรือนและการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และจัดหาเอกสารมาตรฐานกับทีมงานต่อจากเมื่อวาน

บันทึกประจำวันที่ 21 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่ 21  มีนาคม  2559
                   เข้าศูนย์ขออนุญาตใช้รถเพื่อนำวัสดุฝึกวิชาชีพไปส่งที่บ้านไร่สันติสุข กิจกรรมการทำขนมไทย  และบ้านป่ากล้วย กิจกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และจัดซื้อวัสดุฝึก การเพาะเห็ดฟาง ตำบลพิชัยที่บ้านครูจรัส  อินแสง  บ้านหมอสม
                   กลับเข้าศูนย์ กศน. อำเภอเมืองลำปาง จัดหาเอกสารมาตรฐาน  3 ข้อ  3.4  กับครูเยาวรีย์ ครูสายพิน
                  เวลา  18.00  ไปพื้นที่ บ้านป่ากล้วย ตำบลปงแสนทองกับครูรุ้งดาว เพื่อเปิดอบรมวิชาชีพการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร  ได้แนะนำวิทยากร หลักสูตร และทำข้อตกลงร่วมกันในระหว่างเรียน   17  วัน  หลังจากได้เปิดารอบรมได้ให้วิทยากรอธิบานหลักในการถนอมอาหารและแนะนำวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในการเรียน  และดูการเรียนการสอนวิชาชีพ ปะมาณ  10  นาที  หลังจากนั้นได้เดินทางไป กศน.ปงแสนทอง เพื่อนิเทศติดตามผล ได้พูดคุยกับผู้เรียน วันนี้มีประธานชุมชนบ้านหมอสม มานิเทศการอบรมก่อนหน้าแล้ว วันนี้กิจกรรม ทำฟักเขียวเชื่อม และทำมะขามกวน ได้สอบถามปัญหา พบว่าไม่มีปัญหา ผู้เรียนต้องการรู้อะไร นอกเหนือจากการเรียนตามแผนที่วางไว้ วิทยากรก็จะจัดเพิ่มเติมให้ บรรยากาศในวันนี้ ดีผู้เรียนมีความสุขผู้สอนก็เป็นกันเอง  


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2559

บันทึกประจำ;วันอาทิตย์ที่  20  มีนาคม  2559
             
           รับลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาใหม่และเก่าภาคเรียนที่  1 / 2559   ณ  กศน.ตำบลปงแสนทอง วันนี้มีนักศึกษาที่เรียนจบในภาคเรียนนี้ นำตู้เหล็ก   4  ชั้น   มามอบให้  1  ใบ  ได้ขอบคุณและให้โอวาทในการทำงานและสนับสนุนให้เรียนต่อในระดับที่สูงขี้นไป วันนี้มีนักศึกษามาลงทะเบียนเรียน  31  คนและรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับมัธยมศึกษานชตอนปลาย จำนวน  1  คน
            กลับเข้า ทำงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

บันทึกการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ที่ 21 - 27 มีนาคม 2559

บันทึกการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ที่  21 -  27  มีนาคม  2559

วันที่  21 ,มีนาคม 2559    กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง /กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่    22  มีนาคม   2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  ตำบลปงแสนทอง/กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  23  มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  24   มีนาคม  2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  อำเภอเมืองลำปาง

วันที่ 25  มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.ตำบลปงแสนทอง

วันเสาร์ที่่่  26  มีนาคม 2559    หยุดเสาร์กิจกรรม/ งานที่ปฎิบัติ  กศน.ตำบลปงแสนทอง

 วันอาทิตย์ที่  2ึ7  มีนาคม 2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันเสาร์ที่ 19  มีนาคม  2559
           เข้า ทำงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง กับครูเยาวรีย์  ครุูสายพิน  วันนี้มีครูรุ้งดาว ไชยสิทธิ์ ทำหน้าที่ครูเวร  เวลา  18.00  น ได้เข้าพื้นที่บ้านป่ากล้วย ตำบลปงแสนทองเพื่อประชุมกลุ่มอาชีพการแปรรูปผลิตผลทางการกษตร ในการเตรียมความพร้อม ซักซ้อมความเข้าใจ ตกลงร่วมกันในการดำเนินกิจกรรม  ที่จะเปิดอบรมในวันที่  21 มีนาคม  2559 -  วันที่  ึ9  เมษายน  2559  เวลา  20.00 น ได้ไปนิเทศการจัดอบรมการแปรรูปถนอมอาหารบ้านหมอสม ณ กศน.ตำบลปงแสนทอง พบว่ากำลังปฎิบัติการทำถั่วเคลือบอยู่ได้สอบถามผู้เรียนถึงปัญหาและอุปสรรค์ในการเรียน ได้ความว่าไม่มีปัญหา ผุู้เรียนตั้งใจปฎิบัติดี ข้าพเจ้าได้เน้นยำ้การทำแปรรูปถนอมอาหารที่มีวัสดุในท้องถิ่นขอให้ฝึกปฎิบัติให้เกิดความชำนาญเพื่อเป็นอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างรวมถึงการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก่อเกิดรายได้  เป็นสินค้ามีชื่อของตำบล นอกจากการทำเซรามิก   สัก 1  อย่าง ได้ยกตัวอย่าง  การทำฟักเขียวเชื่อมแห้ง หรือทำแยมส้มโอ เนื่องจากผู้เรียนไม่ชอบการทำเปลือกส้มโอเชื่อมแห้ง เพราะยังมีรสขม  แต่ก็ไม่ได้ทิ้งปัญหาได้ให้เพิ่มการปฎิบัติบ่อยขึ้น ในการแก้ปัญหาและเกิดความชำนาญ

บันทึกประจำวันที่ 18 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  18  มีนาคม  2559
             
                 เข้าพื้นที่  ตำบลปงแสนทอง เพื่อขอหลักฐานการเบิกจ่ายเงินวิทยากรที่สหกรณ์เครดิตยูเนียน แต่สหกรณ์ปิด  จึงเข้ากศน.ตำบล ไปเอาหลักฐานสมุดบันทึกการสอน แผนการสอนมาให้มาตรฐานและสมุดบันทึกการนิเทศ ออกเลขภายในของกศน.ตำบลไปให้มาตราฐาน 3 ได้เข้าประสานกลุ่มเพื่อเข้าประชุมเทคนิคการกำจัดศัตรูพืชและกลุ่มกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ ตามรอยพระยุคลบาท ในการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม ในวันที่  /26 และ27  มีนาคม  2559  ได้ประสานวิทยากรคุณบุญเรียบ  ยมนตถ์  เกษตรตำบลปงแสนทอง แต่เนื่องจากป่วย ร่างกายไม่แข็งแรงจึงได้ขอความอนุเคราะห์คุุณสมาน  ใจเย็น  ประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลปงแสนทองเป็นวิทยากรแทน
                    เข้า  กศน.อำเภอเมือองลำปางเนื่องจากได้รับการประสานงานกับเจ้าหน้าที่การเงินให้มาแก้ไขเอกสาร การเบิกเงินวิทยากร หลังจากนั้นได้จัดเอกสารประกันต่อจากเมื่อวานกับครูเยาวรีย์และครูสายพิน ในด้านต่างๆ  ทั้ง  4 ด้าน ที่ยังาหลักฐานไม่พบ


บันทึกประจำวันที่ 17 เดือน มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  17  เดือนมีนาคม  2559
            เข้าอบรมร่วมกับคณะข้าราชการ ครูทุกประเภทเรื่อง การอบรมเชิงปฎิบัติการ โครงการสารสนเทศครบวงจร(การรายงาน)ณ  ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง โดย กฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา เป็นวิทยากร   ผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ เปิดการอบรม
           อาจารย์กฤษณะ  ได้พูดถึงปัญหาท่ี่ผ่านมาร่องรอยข้อมูลการทำงานซ้ำซ้อน รวมถึงการประมวลผลที่ได้ และทบทวนปัญหา 5 เดือนที่ผ่านมา เราได้อะไรจากระบบบริหารบ้าง  ในวันนี้จะได้เรียนรู้อยู่  4  ข้อ 1. ระบบการจัดการโครงการ(เอาโครงการมาบวกกิจกรรม)
       2. การจัดการระบบเว็ปไซด์
       3. ระบบการจัดการการรายงานไตรมาส(การแยกอายุ อาชีพ เพศ )
       4. ระบบการจัดการระบบรายงาน เน้นในเรื่องของรูปภาพ
สิ่งที่ กศน.ตำบล จัดทำและนำเข้าระบบ การสร้างชุดเอกสาร สร้าชุดเอกสารขออนุญาตรายงานการสร้างชุดเอกสารขอนุญาตจัดกิจกรรม  รายละเอียดในตัวโปรแกรม ชื่อกิจกรรม  โครงการ  วันจัดกิจกรรม
    ในหนึ่งกิจกรรม มีอะไรบ้าง
        1.บันทึกข้อความ  ครูต้องนำเสนอต่อผู้บริหาร
        2.รายงานตามนโยบาย ต้องระบุว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร
        3.รายงานไตรมาส(เพศ อายุ  อาชีพ)
        4.รายงานข้อมูลขึ้นเว็ป สิ่งที่พิมพ์ขึ้นไป รายงานตามนโยบายระบบจะดึงขี้น เว็ปโดยอัตโนมัติ
       ข้อมูลทุกด้านของทุกตำบลที่จัดกิจกรรมจะจะนำมาเป็นของอำเภอ การรายงานตามนโยบาบของรัฐและเว็ปไซด์ เรียนรู้พันธกิจ  8  กิจกรรมไหนเข้ากับพันธกิจให้เลือกพันธกิจ  จุดสำคัญของการรายงาน จะเป็นส่วนสำคัญ ถ้าเขียนได้ดีจะเป็นหน้าตาของ กศน.ตำบล การรายงานตามไตรมาส ส่วนสำคัญตามนโยบาย ใช้  3  รูป ให้ภาพที่โพสต์สื่อถึงกิจกรรมที่ทำ (บุคคลดำเนินการ  บุคคลที่สำคัญในการดำเนินการ และกิจกรรมที่ปฎิบัติ)  หลังจากการอบรมครั้งนี้สามารถนำขึ้นเว็ปไซด์ได้เลย ลดขั้นตอนในการทำงาน
            เวลา  11.00 น.  ได้รับชมรายการ ETV โดย นายสุรพงษ์  จำจด เลขาธิการ กศน.และคณะเรื่องแนวทางการดำเนินงา่นการจัดการศึกษาตามหลักสูตร กศน. พุทธศักราช  2559 (ปรับปรุง  2559) เลขาธิการ กศน.ได้ตอบปัยหา  3 ข้อ
          1. ทำไมต้องมีการปรับวิธีการเรียนการสอน
         /2. ปรับแล้วทำอย่างไร
          3. ทำเมื่อไร
เหตุที่ต้องทำ
         - การจัดการศึกษาในปัจจุบันภาพที่เห็น คนที่อยู่ในวัยทำงานจะทำงานนอกพื้นที่ ส่่วนในชนบทจะมีเด็กและผู้สูงอายุในพื้นที่ทำไมต้องทำ จะเห็นว่าในปัจจุบันเรายิ่งจัดการศึกษาเรื่อยๆ คนก็เคลื่อนย้ายจากชุมชนชนบทเข้าสู่ในเมืองมากขึ้น แปลว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการจัดการศึกษา ซึ่งหมายถึงเราไม่ได้จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการของกศน.มีวิชาบังคับการวิชาเลือก พบว่าวิชาเลือกเยอะเกินไป การจัดการยาก ทำให้มีปัญหาสะสม ทำให้ต้องเร่งการจัดการศึกษาใหม่ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งด้วย
ในการที่จะปรับ หลักคิด 1 หลักสุตรไม่มีปัญหา แต่การนำหลักสูตรไปใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากกว่า เนื้อหลักสูตรแบ่งเป็นวิชาบังคับ และวิชาเลือก แต่เราอาจนำไปใช้ไม่ถูก หลักสุตรดี แต่จะนำหลักสูตรมาใช้อย่างไร วิชาบังคับไม่ค่อยมีปัญหา ทางผู้รับผิดชอบจากส่วนกลาง วิชาเลือกจากสถานศึกษาเอง ทำให้เปิดวิชาเลือกอย่างหลากหลาย

วิธีการปรับวิชาเลือก ใช้ชุมชนเป็นฐาน และผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้สถานศึกษากำหนดแผนการเรียนให้สอดคล้องกับแผนจุลภาค ชุมชน
            1. วิชาที่เปิดสามารถเทียบโอนได้
ส่วนกลาง จะปรับในรายวิชาบังคับ ที่ผู้เรียนต้องรู้ในรายวิชาบังคับ ขัอสอบเอ็นเน็ต ต้องออกข้อสอบที่ต้องรู้ เรียนอย่างไรออกสอบอย่างนั้น

อ.ศุทธินี งามเขตต์

                   การใช้หลักสูตร กศน. 2551 และคู่มือการดำเนินงาน ยังใช้แบบเดิม
เรื่องการปรับ โครงสร้างหลักสูตร เหมือนเดิม วิชาเลือกบังคับ ส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดซึ่งเป็นวิชา วิกฤตของประเทศ เช่น วิชาพลังงานไฟฟ้า ให้เรียนเหมือนกันทั้งประเทศ วิชาเลือกเสรี ให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ให้สอดคล้องกับชุมชน ระหว่างครูกับนักศึกษา เป็นผู้ร่วมกำหนด ส่วนวิชาบังคับส่วนกลางเป็นผู้กำหนดITEM SPEC สเป็คข้อสอบเป็นรายข้อ ให้มีการออกสอบบวกลบไม่เกินสองหลัก ผังข้อสอบจะบอกว่าความรู้ความจำออกกี่ข้อ มีการเทียบโอนอาชีพ ทางกองพัฒนาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานศึกษา การเทียบโอน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จะกำหนดเกณฑ์ให้สถานศึกษา
คุณภาพสื่อวิชาเลือก ทางสถานศึกษา ให้ทาง กศน.จังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ
การวัดผลประเมินผล สถานศึกษาเป็นผู้วัดผลประเมินผลกำหนดเกณฑ์ โดยให้ข้อสอบ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

ผอ.นรา เหล่าวิชยา

สำนักงานกศน.จังหวัด จะต้องมาช่วยในเรื่องของการจัดทำหลักสูตรวิชาเลือก
การพัฒนาบุคลากร ของกศน.อำเภอ ในเรื่องของ การแนะแนว

            เวลา 13.00 น   ประชุมเชิงปฏิบัติการต่อ.วิทยากร นายฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา  สอนวิธีการอัพโหลดรูปภาพกิจกรรม   ระบบการจัดการรายงานไตรมาส  และให้การฝึกปฏิบัติการกรอกข้อมูล รายงานที่จัดกิจกรรมเสร็จไตรมาส 1


IMG 8572

IMG 8588

IMG 8593

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 16 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  16   มีนาคม  2559
              เข้าทำงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อเตรียมการประเมินภายในจากต้นสังกัด วันที่  23  มีนาคม 2559  คณะทำงานมาตราฐานที่  3.4  ทั้ง  4  ด้าน ซึ่งมีด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านงานบริหารงานทั่วไป

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 15 เดือน มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่ 15  มีนาคม  2559
    พื้นที่กศน.ตำบลปงแสนทอง ประสานขอหลักฐานวิทยากรการอบรมการทำบัญชีครัวเรือนและการเพาะเห็ดในตะกร้าเพื่อดำเนินการตั้งเบิกค่าตอบแทน  และกลับเข้า กศน.อำเภอเมืองลำปางเพื่อจัดเตรียมเอกสารตามมาตรฐานที่ได้รับมอบหมายกับครูเยาวรีย์ ครูสายพินและเจ้าหน้าทีธุรการที่ได้รับมอบหมายในมาตราฐานเดียว กัน

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 14 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  14  มีนาคม  2559
เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลปงแสนทอง  ประสานกลุ่มอาชีพการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร บ้านป่ากล้วย หมู่ 4  ตรวจเช็คจำนวนผู้เรียนที่มาขอเรียนเพิ่มเติมตามเอกสารที่ได้รับ  อีก  2  คน  เข้า ไปประสานผู้นำเพื่อการเตรียมการจัดอบรมวิชาชีพการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้น  ในการประชาคม การจัดกิจกรรม  ิวิทยากร  สถานที่  นัดหมายวันเวลาการอบรม และประสานการนัดหมายการประชุมของคณะกรรมการ คส.ปชต.ของตำบลปงแสนทอง
เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดเตรียมเอกสารการประเมิน มาตราฐานที่ 3  ข้อ.3.4 กับครูเยาวรีย์ บุณยะภักดิ์ ด้านงบงานวิชาการตามหัวขัอที่ระบุซึ่งบางข้อก็หาเอกสารไม่ได้และบางข้อต้องขออ้างอิงกับมาตรฐานอื่น

แผนการปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 14 - 20 มีนาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่  14 - 20  มีนาคม  2559

'วันที่  14 ,มีนาคม 2559    กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง 

วันที่    15  มีนาคม   2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  ตำบลปงแสนทอง

วันที่  16  มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  17   มีนาคม  2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  อำเภอเมืองลำปาง

วันที่ 18  มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันเสาร์ที่่่  19  มีนาคม 2559    หยุดเสาร์กิจกรรม/ งานที่ปฎิบัติ 

 วันอาทิตย์ที่  20  มีนาคม 2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 12 - 13 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่ 12 -  13  มีนาคม  2559
              
               สอบปลายภาเรียนที่ 2/ 2558 ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลาง ในการดำเนินการมีหน้าที่ส่งให้กรรมการคุมสอบ และ รับข้อสอบ ตรวจความถูกต้อง และส่งเก็บรวบรวมเป็นรายวิชาและเป็นระดับ  ปัญหา ไม่มี แต่มีผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดมาดูความเรียบร้อยในเช้าวันที่  13 มีนาคม 2559 และช่วงบ่ายมีศึกษานิเทศน์ สมพร  เอี่ยมสำอางค์ มานิเทศได้สอบถามและรับทราบปัญหา ในสนามสอบที่พบ  

บันทึกประจำวันที่ 11 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  11  มีนาคม  2559
                เข้าพืนที่ กศน.ตำบลปงแสนทอง ตรวจเอกสารงานนักศึกษา ประสานประธานชุมชน  ในงานการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  กิจกรรมเทคนิคกำจัดศัตรูพืช  ในวันที่  20  มีนาคม  2559 และงานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  โครงการหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยยุคลบาท ที่ กศน.ตำบลปงแสนทองยังค้างอยู่ในไตรมาส  2
             
             เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อเตรียมเอกสารงานประกันคุณภาพกับครูเยาวรีย์ บุณยะภักดิ์

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันที่ 10 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  10  มีนาคม  2559

            เวลา  09.00 น.   เป็นตัวแทน กศน.อำเภอเมืองลำปาง  ร่วมงานศพคุณพ่อของอาจารย์กฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา ที่วัดนำ้ล้อม อำเภอเมืองลำปาง กับครูเยาวรีย์ ครูรุ้งดาว ครูชนกกร ครูมานพ ครูปวช นำโดยผู้อำนวยการ และอาจารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร
            เวลา 13.00 น ร่วมประชุมกับคณะผู้นำชุมชน และครู กศน. 19  ตำบล  ตัวแทนหมู่บ้าน เพื่อร่วมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริและการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเมืองลำปาง

บันทึกประจำวันที่ 9 มีนาคม, 2559

บันทึกประจำวันที่  9  มีนาคม 2559
                  วันนี้เข้าพื้นที่ตำบลปงแสนทอง  เพื่อเตรียมเอกสาร บัญชีลงเวลาผู้เรียนอาชีพกลุุ่ม  บัญชีลงเวลาวิทยากร หลักฐานต่างๆเตรียมเปิดวิชาชีพ  วันนี้มีนักศึกษาที่จะจบในภาคเรียนนี้ นำตู้ทรงสูงมามอบให้ครู  1 ใบ  และจะทำการมอบในวันที่  20  มีนาคม  2559 ช่วงบ่ายเข้าทำงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง ในการหาเ  อกสารประกอบงานประกันกับครู เยาวรีย์ บุณยภักดิ์
                 เวลา  18.00 น. เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง กับครูรุ้งดาว  ไชยสิทธิ์ นิเทศงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรมการแปรรูปถนอมอาหาร วันนี้วิทยากรได้สอนการทำแหนม ตุ้มจิว  ประธานชุมชนนายสุริยา  ชุ่มอินทรจักร์ ได้มานิเทศร่วม  ผู้เรียนให้ความสนใจกับการเรียนดีมาก วิทยากรแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น  2  กลุ่ม ให้ผู้เรียนได้ช่วยกันลงมือปฎิบัติจริงทุกคน

บันทึกประจำวันที่ 8 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่    8   มีนาคม  2559
                วันนี้ได้ปฎิบัติงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดพิมพ์เอกสารขออนุมัติหลักการจัดซื้อวัสดุ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร หมู่ที่ 4   และการทำขนมไทย หมู่11 ตำบลปงแสนทอง และโพสต์ขึ้นในระบบบริหารงาน   อำเภอเมืองลำปาง   แก้ไขและเปลี่ยนแปลงกิจกรรม การทำขนมไทยเป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร หมู่  4 พร้อมเสนอเซนตามขั้นตอน  เพิ่มเติมเอกสารเบิกเงินวิทยากร สอนภาษาอังกฤษที่งานการเงิน
                 ช่วงกลางคืนได้ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ คุณพ่อของน้องอรอนงค์  ระนาดเงิน กับคณะข้าราชการและครู ที่วัดบ้านใหม่ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง

แผนการปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 7 - 13 มีนาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานรายสัปดาห์  ประจำวันที่    ึึ7  -  13  มีนาคม  2559
วันที่  7 ,มีนาคม 2559    กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   ตำบลปงแสนทอง 

วันที่   8  มีนาคม   2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ  กศน.ตำบลปงแสนทอง

วันที่  9   มีนาคม 2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  กศน.ปงแสนทอง/ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

วันที่  10   มีนาคม  2559   กิจกรรม/งานที่ปฎิบัติ  อำเภอเมืองลำปาง

วันที่ 11  มีนาคม 2559   หยุดวันเสาร์กิจกรรม/ งานที่ปฎิบัติ ตำบลปงแสนทอง/กศน.อำเภอเมืองลำปาง

 วันอาทิตย์ที่  12 - 13  มีนาคม 2559 กิจกรรม/งานที่ปฏิบัติ   8คุมสอบปลายภาค รายวิชาบังคับ นักศึกษาขั้นพื้นฐาน   ณ  โรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาเขลางค์นคร

บันทึกประจำวันที่ 7 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่    7   มีนาคม   2559
    เข้าประชุมที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อทบทวนการคีย์ข้อมูลแผนปี 2558และการใช้เงินในแต่ละงาน เริ่มจากงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตั้งแต่ผู้ไม่รู้หนังสือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย หมายรวมถึงนักศึกษาคนพิการ  ตรวจเช็คจำนวนนักศึกษาจำนวนเงิน ให้ตรงกับการใช้เงิน
                   งานการศึกษาต่อเนื่อง  มีงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  หลักสูตรระยะสั้น(ไม่เกิน 30  ชั่วโมง ) งบพัฒนาสังคมฯ
                    งานการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรช่างพื้นฐาน หลักสูตรพัฒนาอาชีพ(ต่อยอดอาชีพเดิม)  และอาชีพอื่นๆ
                    งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งานการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียง  งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  งานการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ทั้ง 2 'งานสามารถเบิกค่าอาหารว่างได้มื้อละ35/หัว/คน  บาทและอาหารกลางวัน เบิกได้  ึ70 /หัว/คน
                   งานการศึกษาตามอัธยาศัย จะประกอบด้วยโครงการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำบล โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน (ในวัด ในสถานประกอบการ)  โครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน โครงการบรรณสัญจร โครงการชุมชนรักการอ่าน  โครงการจัดทำฐานข้อมูล กศน.ตำบล
                     โครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น  จะประกอบด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กออกกลางคัน หมายถึงเด็กที่ต้องไปขออนุญาต เขตพื่นที่ ก่อนไม่ใช่เด็กที่ออกจากในระบบแล้วมาศึกษาต่อท่ี่ กศน.  โครงการกีฬา โครงการติวเข้มเต็มความรู้ โครงการสอนภษาอังกฤษ และภาษาอาเซี่ยน โครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอาเซี่ยนศึกษา โครงการลูกเสือ กศน. และโครงการยุวกาชาด ที่จะจัดในไตรมาส  3
                   ช่วงบ่ายได้ไปกับ ผอ ข้าราชการ และคณะครู ร่่วมวางพวงหรีด คุณพ่อของน้องอรอนงค์  ระนาดเงิน  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  และช่วงกลางคืนได้ไปวางหรืดและเป็นเจ้าภาพงานศพคุณพ่อของ น้องกฤษณะ ท่ี่วัดนำ้ล้อม

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันอาทิตย์ที่   6  มีนาคม    2559
                    ดำเนินการสอบปลายภาค รายวิชาเลือกจำนวน  11 วิชา ให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ กศน.ตำบลปงแสนทอง
         

บันทึกประจำวันที่ 5 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  5  มีนาคม  2559
             เข้าพื้นที่  ตำบลปงแสนทอง เพื่อจัดกิจกรรม โครงการเรียนรู้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง  ในกิจกรรมท่ี่  2  กิจกรรมการเพาะเห็ดฟาง โดย อาจารย์จรัส  อินแสง  เป็นวิทยากรได้ให้ผู้เรียนทั้ง  18  คน เรีอนรู้ทฤษฎี ธรรมชาติของเห็ด จากการฉายโปรเจ็คเตอร์ และจากใบความรู้ที่แจกให้ ประมาณ  1  ชั่วโมง  หลังจากนั้นได้มอบหมายให้ปฎิบัติจริงด้านหลังอาคารสหกรณ์เครดิตยูเนียน วิทยากรให้เรียนรู้จากการปฎิบัติจริงวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย  และจากแบบพิมพ์ ที่ใช้กาละมัง ซึ่งคล้ายกับในตะกร้า แต่เมื่อเสร็จกิจกรรม ต้องรัดด้วยเชือกฟาง และจะต้องคว่ำหน้าลงถอดแบบพิมพ์ออก ซึ่งแบบนี้จะประหยัดเนื้อที่ และง่ายต่อการหาพิมพ์  อีกทั้งได้ทดลองให้ผู้เรียนนำเอาผักตบชวามาใช้แทนฟาง  จนเแล้วเสร็จ  หลังจากเสร็จสิ้นภาคปฎิบัติ ได้ให้ผู้เรียนเข้ามาสรุปปัญหาในการทำและให้ความรู้เทคนิคในการเพาะเห็ดฟาง เสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม  16.30 น  ได้เห็ดฟางในตะกร้า  /20  อัน กองเตี้ย  10 กอง เพาะเห็ฟางจากแบบพิมพ์ ถัง  /2  จากการนำเอาผักตบชวามาใช้แทนฟาง  1  กอง  ในส่วนของตะกร้าได้มอบหมายให้ผู้เรียนนำกลับไปดูแลทีบ้านในส่วนที่เหลือให้ไว้ที่สหกรณ์ฯเพื่อไว้เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนในรูปแบบของกระบวนการกลุ่ม และเพื่อให้ผู้มาติดต่องานสหกรณ์ได้นำเอาเป็นแนวทางและเป็นรายได้เสริม
             ช่วงเวลา 10.00 น. ได้เข้ากศน.ตำบลปงแสนทอง เพื่อปัจฉิมนิเทศ นำเสนอโครงงานเป็นรายกลุ่มที่เหลือ และให้นักศึกษาส่งรายงาน และงาน กรต จึงกลับเข้าไปดูกลุ่มเพาะเห็ดต่อ

บันทึกประจำวันที่ 4 ,มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  4  มีนาคม  2559
             อบรมงานประกันคุณภาพเป็นวันที  3  วันนี้ผอ.ได้มอบหมายให้แต่ละงานหาเอกสารตามมาตรฐานที่รับผิดชอบ ได้ค้นหาเอกสาร กับครูเยาวรีย์  และครูสายพินได้พิมพ์เอกสารที่หาได้ในแต่ละข้อ ปัญหาคือบางข้อหาเอกสารไม่พบ
             ช่วงบ่ายผอ.มอบหมายให้อาจารย์์ยุรัยยา อินทรวิจิตร  ให้แต่ละมาตรฐานรายงานความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค   เริ่มจากมาตฐานที่ 1  ข้อ 1.1  ในส่วน ของมาตรฐาน ครูสายพินเป็นผู้รายงาน อาจารย์ยุรัยยา ให้แต่ละมาตรฐานจัดทำเอกสารให้แล้วเสร์จ ภายในสัปดาห์หน้า

บันทึกประจำวันที่ 3 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  3  มีนาคม  2559
                เข้าอบรมที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง  เป็นวันที่  2

                  เวลา 18.00 น - 21.00  น.  เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง กับครูรุ้งดาว  ไชยสิทธิเพื่อร่วมกิจกรรมตามโครงการเรียนรู้ตามเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่  1  การวิเคราะห์บัญชีครัวเรือน โดยนางสุธีรา  สุขสุมิตร ผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนียน เป็นวิทยากร จำนวน ผู้เข้าเรียนคือผู้เขียนตามบัญชีครัวเรือน ของ กศน.ปงแสนทองแจก ให้จำนวน 18  คน ซึ่งข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ครูรุ้งดาวชี้แจ้งวัตถุประสงค์ของการทำบัญชีครัวเรือน จากนั้นได้มอบหมายให้วิทยากรดำเนินการต่อ

บันทึกประจำวันที่ 2 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่  2  มีนาคม  2559
           เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง อบรมตามโครงการ ประชุมเชิงปฎิบัติการในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ  วันที่  2 - 4 มีนาคม  /2559  ณ  ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง 
         ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  กล่าวเปิดโครงการ และพูดถึงสาเหตที่จัดโครงการนึ้ขี้น สืบเนื่องจาก สำนักงาน กศนจังหวัดและคณะกรรมการประเมิน จะมาประเมินสถานศึกษา ประมาณปลายเดือนมีนาคม  2559 หรือต้นเดือนเมษายน  2559  นี้ เพื่อให้การประกันคุณภาพฯมีข้อมูลที่ชัดเจน  จึงให้จัดเตรียมเอกสารย้อนหลัง  3  ปี  ตั้งแต่ปี 2555 - 2557  แต่ ปี2558  จะเป็นผลต่อเนื่อง จากการที่ได้รับผิดชอบตามมาตราฐานจะพบว่า  บางมาตราฐานยังขาดตัวชี้วัด คะแนนที่ได้จะต่ำกว่าเดิมไม่ได้ ยังไงขอให้มีหลักฐานย้องหลัง 3 ปี และปี 57 ต้องมีทุกอย่างเพราะ กศน. อำเภอเมืองลำปางผ่านการประเมินจาก สมศ ในระดับดีมาก ขอให้ครูดำเนินการรวบรวมเอกสารต่างๆปี 58 จะง่ายขึ้นเพราะผ่านระบบ  Online  ขอให้ครจัดเอกสารตามตัวบ่งชี้ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2   ครั้งที่ 3 คณะกรรมการจะเข้าประเมินเอง ให้ช่วยกันคิดวิธีการให้มีครบทุกมาตรฐาน  หลังจากนั้นได้มอบหมายให้ครูนาตยา ทุนกุล ดำเนินการต่อ ซึ่งครูนาตยาได้มอบหมายให้ครูสุมลมาลย์  รายงานผลของปี  58  ตามรายมาตรฐาน โดยเลขานุการของแต่ละมาตราฐานรายงานต่อ ผู้อำนวยการ  รับฟังผลและปัญหาที่พบในปี 2558  ผอ.เน้นยำ้ การพัฒนาองค์กรเพื่อปรับแก้ในปี 2559 และ ใน SAR ตรงจุดที่ควรพัฒนา   หลังจากนั้นได้มอบหมายให้แต่ละมาตราฐานจัดเตรียมเอกสาร ย้อนหลัง 3  ปี

บันทึกประจำวันที่ 1 ,มีนาคม 2559

บันทึกประจำวันที่ 1 มีนาคม  2559
             เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง เนื่องจาก กศน.ปงแสนทองมีปัญหาเรื่องเครื่องพิมพ์และการใช้อินเตอร์เน็ต      พิมพ์รายงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พร้อมภาพทำกิจกรรม  โครงการ ทำบุญตักบาตร ฟังพระเทศนา และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา และโครงการ กศน.ตำบลปงแสนทองพร้อมใจบริจาคโลหิต  พิมพ์ใบปะหน้าเตรียมเสนอเซนต์
             เวลา  10.45 น วิ ทยากรการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร นางจรัญญา  การะกัน  มาขอดูหลักสูตรเพื่อเตรียมการสอน ได้อธิบาย หลักสูตร ค่าตอบแทนที่จะได้รับ  10,000  บาท และค่าวัสดุเบิกได้  4,000  บาท  หลังจากนั้นได้ทำแผนการเรียนรู้วิชาการแปรรูปถนอมอาหาร หลักสูตร และใบอนุมัติหลักการ

บันทึกประจำวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกประจำวันที่  29  กุมภาพันธ์  2559
             เข้าส่งเอกสารเบิกเงินค่าตอบแทนวิทยากรสอนภาษาอังกฤษ  ส่งรายงานกิจกรรม กพช ที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง
             เข้าพื้นที่ ตำบลปงแสนทอง ประสานกลุ่มอาชีพ การทำขนมไทย  บ้านป่าตัน - กุมเมือง หมู่ 4 และบ้านไร่สันติสุข หมู่ 5    กลุ่มแปรรูปถนอมอาหาร  หมู่ 2  และกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร  หมู่ 4 และประสานวิทยากรเพื่อเตรียมวัสดุฝึก
             ประสานกลุ่มบัญชีครัวเรือน เพื่อเตรียมวิเคราะห์บัญชีครัวเรือนและฝึกอบรมวิชาชีพการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า วันที่ 3-5 มีนาคม  2559


บันทึกประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกประจำวันที่  28  กุมภาพันธ์  2559
                จัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโซนเคียงวัง ซึ่งมีตำบลปงแสนทอง จำนวน  60  คน   ตำบลกล้วยแพะ  จำนวน  45  คน  ตำบลพระบาท  จำนวน  45  คนและตำบลชมพู  45  คน รวมทั้งสิ้น 195  คน  ในการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้จัดขึ้นที่สนามกีฬาบ้านหมอสม  วึ่งประกอบด้วนแชร์บอล กีฑา และกีฬาพื้นบ้าน
ได้รับความอนุคราะห์จาก นายกเทศบาลเขลางค์มอบหมายให้นายธาราเงิน  รองนายกเทศบาล เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬา ในครั้งนี้ และมีสท. วันชัย  อินทะนักและประธานชุมชนบ้านหมอสม นายสุริยา  ชุ่มอินทร์จักร์  ประธานชุมชนบ้านไร่สันติสุขนายสมเชียน  วงษ์ก่ำร่วมพิธีเปิด




บันทึกหลังสอนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกหลังสอนวันที่  27  กุมภาพันธ์  2559
                 จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน     52      คน วันนี้ได้ให้นักศึกษา เเขียนบันทึก การเรียนรู้ต่อเนื่อง โครงงาน และเอกสารรายงาน ของแต่ละคนจนเสร็จ หรือให้มากที่สุด และให้ส่งภายในวันที่  5 มีนาคม  /2559  เสร็จสิ้นการจัดการเรียนการสอน ของภาคเรียนนี้เวลา  11.00 น ได้มอบหมาบให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณฺิตษาสตร์ ดู  ETV ในเรื่องรูปทรงเรขาคณิต